Page 79 - kpi12626
P. 79
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
นอกจากนี้ ปัญหาความตึงตัวทางด้านงบประมาณก็เกิดขึ้นเช่นกันกับ
เทศบาลในกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สตูล และ
สงขลา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเหตุผลทางการเมืองและความไม่สงบต่างๆ ที่
ทำให้เทศบาล (และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ) ในจังหวัดเหล่านี้
ประสบปัญหาทางการคลังและงบประมาณ อันเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ที่เกิดความซบเซามาเป็นเวลานาน ในกรณีเช่นนี้ รัฐบาลอาจ
พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินเป็นการเฉพาะให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เหล่านี้เพื่อให้ท้องถิ่นมีงบประมาณสำหรับการ
จัดบริการให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ตามเหมาะสมและความจำเป็น จนกว่า
เหตุการณ์วิกฤตต่างๆ จะผ่านพ้นไปได้
4.4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ในการสร้างความยั่งยืนทางงบประมาณ
เนื้อหาในบทนี้นำเสนอถึงแนวคิดและวิธีการวิเคราะห์ความยั่งยืนทาง
งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการสร้างความมั่นใจว่า
งบประมาณรายจ่ายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นจะมีทรัพยากร
ทางการเงินรองรับอย่างเพียงพอสำหรับการดำเนินงานตลอดทั้งปี แม้ว่าจะ
เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินใดๆ ขึ้นระหว่างปีงบประมาณก็ตาม ดัชนีชี้วัดทาง
การเงินในด้านนี้ประกอบไปด้วย (1) อัตราส่วนการดำเนินงาน (2) สัดส่วน
ของรายจ่ายที่มาจากภาษีท้องถิ่น (3) ระดับเงินสะสมต่อรายจ่ายรวมของ
ท้องถิ่น และ (4) อัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินสะสม ข้อมูลสำหรับการ
วิเคราะห์ในด้านนี้มาจากงบแสดงฐานะทางการเงินและเอกสารงบประมาณ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว
การวิเคราะห์ในด้านนี้จึงสามารถดำเนินการได้อย่างตรงไปตรงมาดังที่เนื้อหา
ในบทนี้ได้นำเสนอไว้แล้ว
ข้อมูลที่สำรวจได้จากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552
แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้กรอบวิเคราะห์ฐานะทางการเงินในด้านความ
ยั่งยืนทางงบประมาณได้อย่างชัดเจน กล่าวคือเทศบาลส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยมี
ขีดความสามารถในการจัดทำงบประมาณในระดับที่ดีมาก มีความสามารถ