Page 84 - kpi12626
P. 84
5.1 หลักการพื้นฐาน
สภาวะของการมีหนี้สินระยะยาวของบุคคลหนึ่งๆ อาจ
ตีความได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ ลักษณะแรก หากเรามองว่า
“การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” ในกรณีเช่นนี้ การมีหนี้
ย่อมมิใช่สภาวะที่พึงประสงค์มากนัก เพราะต้องคอยแบกรับ
ภาระในการชำระคืนหนี้เงินกู้ในระยะยาว ประการที่สอง หาก
เรามองว่าการมีหนี้เป็นไปเพื่อการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการประกอบอาชีพการงาน หรือ
การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และถ้าหากมิได้
เป็นการก่อหนี้สร้างสินที่มากเกินตัวแล้วนั้น การมีหนี้ในกรณี
เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการวางรากฐานใน
ชีวิตที่มั่นคง ฉะนั้น ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ก็คือวัตถุประสงค์
ของการก่อหนี้เป็นเช่นใด หากเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
แล้วไซร้ ไม่ว่าจะมีภาระหนี้เพียงน้อยนิดก็ถือได้ว่าเป็น
พฤติกรรมที่ไม่น่าพึงประสงค์
ฉันใดก็ฉันนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการ
ก่อหนี้ยืมสินก็จะต้องพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้
คืออะไร หากท้องถิ่นก่อหนี้เพื่อนำไปลงทุนพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานหรือการบริการสาธารณะที่จำเป็นของชุมชนท้องถิ่น
ก็จัดได้ว่ามีความเหมาะสมเพราะจะช่วยนำไปสู่การพัฒนา
เมืองหรือคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ต่อไป อย่างไรก็ดี หาก
มีการก่อหนี้เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำทั่วไป (current
expenditure) แล้วนั้น ถือว่าเป็นนโยบายการก่อหนี้ที่ไม่เหมาะสม
เท่าที่ควร ก่อให้เกิดการเสียโอกาสในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
และเป็นบ่อเกิดแห่งการเสียวินัยทางการเงินการคลัง เนื่องจาก
เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้เป็นรายจ่ายประจำในปัจจุบัน
จึงกลายเป็นการผลักภาระรายจ่ายในปัจจุบันไปให้กับคนในรุ่น