Page 80 - kpi12626
P. 80
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
ด้านรายรับรวมที่สูงกว่ารายจ่ายรวมโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ของขนาดรายจ่าย
ประจำปี อีกทั้งมีการจัดเตรียมเงินสะสมเพื่อการรับมือกับสภาวะวิกฤตโดย
เฉลี่ยประมาณร้อยละ 35 ของขนาดงบประมาณรายจ่ายประจำปี นอกจากนี้
การเพิ่มขึ้นของระดับเงินสะสมในระหว่างปีงบประมาณ 2552 มีประมาณ
ร้อยละ 4.78 โดยเฉลี่ยถึงแม้ว่าปีงบประมาณดังกล่าวจะเป็นช่วงเวลาที่
เทศบาลส่วนใหญ่เริ่มประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงินการคลังก็ตาม คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ในรายละเอียดสะท้อนให้เห็นว่าเทศบาล
ส่วนใหญ่มีระดับการพึ่งพาตนเองทางการคลังที่ไม่สูงนัก กล่าวคือมีสัดส่วน
ของรายจ่ายที่จัดเก็บเองมาจากภาษีท้องถิ่นในสัดส่วนที่ยังคงต่ำอยู่ หรือคิด
เป็นประมาณร้อยละ 4.30 โดยเฉลี่ย แต่ในกรณีของเทศบาลนครหรือ
เทศบาลขนาดใหญ่จะมีสัดส่วนของรายจ่ายที่มาจากเงินภาษีที่จัดเก็บเอง
สูงถึงประมาณร้อยละ 13 ถึง 16 ของขนาดรายจ่ายรวม แต่ก็ยังไม่นับว่า
พึ่งพาตนเองได้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนของรายจ่ายที่มาจากฐานภาษีของตนเอง
อยู่ระหว่างร้อยละ 60 ถึง 70 12
นอกจากนี้ ผลการศึกษาจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 972 แห่ง
ในปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้องถิ่นจำนวนมากเริ่มประสบกับ
วิกฤตเศรษฐกิจ พบว่าเทศบาลที่มีขอบเขตภารกิจการให้บริการสาธารณะ
ที่กว้างขวางมีความจำเป็นต้องรักษาระดับการให้บริการเอาไว้โดยการนำเงิน
สะสมออกมาใช้จ่ายในสัดส่วนที่สูง ทำให้ระดับเงินสะสมของเทศบาลขนาด
ใหญ่โดยเฉลี่ยลดน้อยลงในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และส่งผลทำให้ความ
ยั่งยืนทางงบประมาณของท้องถิ่นขนาดใหญ่เหล่านี้อ่อนแอลงพอสมควร
และในทำนองเดียวกัน เทศบาลในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนบน และกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่างก็ประสบปัญหา
ความตึงตัวทางด้านงบประมาณและการจัดเตรียมระดับเงินสะสมของ
องค์กรมากพอสมควร
12 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก อาทิ สมชัย ฤชุพันธุ์ (2545) หรือ วีระศักดิ์ เครือเทพ
(2554)