Page 85 - kpi12626
P. 85
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
หลังที่ต้องมาแบกรับภาระแทนโดยไม่จำเป็น 13
ด้วยเหตุนี้ ผลจากการมีหรือไม่มีหนี้สาธารณะขององค์กรปกครอง
ท้องถิ่นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบและสอดคล้องกับบริบทของการจัด
บริการสาธารณะของท้องถิ่นแต่ละแห่ง ในด้านหนึ่ง หากองค์กรปกครอง
ท้องถิ่นมีปริมาณหนี้ที่สูงเกินไป และถ้าหากพบว่าเป็นการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้
เป็นรายจ่ายประจำ ย่อมก่อให้เกิดภาระในการชำระหนี้ระยะยาวโดย
ไม่จำเป็น และจะส่งผลทำให้งบประมาณสำหรับการจัดบริการสาธารณะ
14
ในอนาคตลดน้อยลงได้ ในอีกด้านหนึ่ง การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ไม่มีภาระหนี้ระยะยาวใดๆ เลยอาจมิใช่สภาวะที่พึงประสงค์เช่นกัน เพราะ
ถ้าหากท้องถิ่นไม่กล้าที่จะก่อหนี้เพื่อการลงทุนพัฒนาเมืองให้เจริญเติบโต
ทันต่อการขยายตัวของประชากรและภาคธุรกิจแล้ว ประชาชนและภาคธุรกิจ
ย่อมเสียโอกาสที่จะได้รับบริการสาธารณะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างเต็มที่ตามศักยภาพทางการเงินขององค์กรท้องถิ่นที่มีอยู่ได้
ประเด็นสำคัญของการประเมินฐานะทางการเงินในด้านนี้จึงอยู่ที่ว่า
องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวมากน้อย
เพียงใด และเมื่อพิจารณาคู่กับการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (บทที่
3) และความยั่งยืนทางงบประมาณ (บทที่ 4) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แล้ว ต้องพิจารณาเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการที่ท้องถิ่นหนึ่งๆ มีสภาพ
คล่องทางการเงินที่สูงและมีความยั่งยืนทางงบประมาณที่ดีนั้น เป็นเพราะว่า
ได้ใช้วิธีการก่อหนี้ในระยะยาวเพื่อนำเงินมาใช้เสริมฐานะทางการเงินในระยะ
13 คำอธิบายเกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็นในการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อ่านได้จาก Miller and Hildreth (2007), Kim (2003), Krueathep (2010a), จรัส สุวรรณมาลา
(2541) หรือ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ (2551) เป็นต้น
14 เคยมีกรณีที่เกิดขึ้นกับท้องถิ่นบางแห่งที่พยายามจะก่อหนี้ระยะยาวเพื่อนำเงินไปจัด
ซื้อถังขยะวางตามถนนและบ้านเรือนให้แก่ประชาชน ซึ่งไม่น่าจะจัดอยู่ในส่วนของรายจ่ายเพื่อ
การลงทุนแต่ประการใด เพราะแทบไม่เห็นโอกาสว่าการใช้จ่ายดังกล่าวของท้องถิ่นจะนำไปสู่
การต่อยอดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประชาชนหรือภาคธุรกิจในพื้นที่ได้อย่างไร