Page 86 - kpi12626
P. 86

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


                  สั้นโดยไม่จำเป็นหรือไม่ ในการตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้ประกอบไปด้วย
                  ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางการเงินของท้องถิ่นในระยะยาวต่อไปนี้

                  (1) อัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets Ratio) (2) ระดับหนี้สินต่อเงินสะสม
                  (Debt to Treasury Cash Reserve) (3) ระดับหนี้ระยะยาวต่อรายรับรวม (Long-
                  Term Debt Ratio) (4) ภาระหนี้ระยะยาวต่อประชากร (Long-Term Debt Per
                  Capita) และ (5) สัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ (Debt Service Ratio)   คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่

                        การวิเคราะห์สินทรัพย์สุทธิขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดัชนีชี้วัด
                  ที่ 1) เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการประเมินว่าถ้าหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  จะต้องนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมดมาชำระหนี้ทั้งหมดในทันทีแล้วนั้น จะมี
                  สินทรัพย์เหลือเป็นมูลค่าเท่าใด หากมีค่ามากกว่าศูนย์ย่อมหมายความว่า
                  องค์กรนั้นๆ มีสินทรัพย์รวมมูลค่ามากกว่าหนี้สินรวม ในทำนองเดียวกัน
                  การพิจารณาระดับหนี้สินต่อเงินสะสม (ดัชนีชี้วัดที่ 2) เป็นการประเมินว่า
                  เงินสะสมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่นั้นสามารถนำมาใช้จ่ายในการ

                  ชำระหนี้ (ในกรณีที่จำเป็น) ได้มากน้อยเท่าใด สำหรับการวิเคราะห์ภาระหนี้
                  เป็นการประเมินขนาดของหนี้ระยะยาวเมื่อเทียบขนาดของรายรับรวมของ
                  ท้องถิ่น (ตัวชี้วัดที่ 3) และเมื่อเทียบภาระหนี้ต่อประชากร (ตัวชี้วัดที่ 4) ตาม
                  ลำดับ การวิเคราะห์สัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ (ตัวชี้วัดที่ 5)
                  เป็นการประเมินว่ารายจ่ายเพื่อการชำระคืนหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยคิดเป็น
                  สัดส่วนเท่าใดของขนาดงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครอง

                  ท้องถิ่น หากมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้สูง ย่อมหมายความว่า
                  งบประมาณที่เหลือสำหรับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในด้านอื่นๆ ลดน้อยลง

                  5.2 วิธีการคำนวณและการวิเคราะห์ผล

                        วิธีการคำนวณดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวทั้ง

                  5 ประการ พร้อมค่าอ้างอิงจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552
                  แสดงดังตารางที่ 5-1 ทั้งนี้ค่าอ้างอิงแสดงเป็นช่วงใน 4 ลักษณะได้แก่
                  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) และค่าลำดับเปอร์เซ็นไทล์ (percentile)
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91