Page 89 - kpi12626
P. 89

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                สาธารณะและการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตของชุมชนท้องถิ่นอยู่ในระดับ
                ที่ต่ำเกินไปหรือว่าน้อยกว่าปริมาณความต้องการของประชาชนหรือไม่

                ในกรณีเช่นนี้ ผู้บริหารท้องถิ่นจึงควรประเมินความยั่งยืนทางการเงินในระยะ
                ยาวควบคู่ไปกับความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะ (ซึ่งเป็นเนื้อหา
                หลักในบทต่อไป) และหากพบว่าการมีภาระหนี้ในระดับต่ำหรือการไม่มีภาระ
                หนี้เกิดขึ้นเพราะว่าท้องถิ่นยังมิได้จัดบริการสาธารณะหรือลงทุนพัฒนา
                ชุมชนท้องถิ่นให้ทั่วถึงอย่างเพียงพอ ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถพิจารณาถึง

                การขยายขอบเขตหรือเพิ่มคุณภาพของการจัดบริการสาธารณะและ/หรือการ
                ขยายโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของเมืองด้วยการ
                ก่อหนี้ผูกพันต่างๆ ได้มากขึ้นต่อไป เป็นต้น

                      ความเป็นไปได้ประการต่อมา หากพบว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นมี
                ภาระหนี้ระยะยาวสูงมากเกินไปแล้ว อาทิ มีภาระหนี้ระยะยาวต่อประชากร
                ราว 4,000 บาท มีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ (debt service ratio) สูงถึง

                ประมาณร้อยละ 25 ของงบประมาณ ฯลฯ ผู้บริหารท้องถิ่นก็จะต้องพิจารณา
                ว่าควรปรับเปลี่ยนแนวนโยบายการจัดบริการสาธารณะ การลงทุน หรือการ
                บริหารจัดการหนี้สินต่างๆ ที่มีอยู่เช่นไรเพื่อป้องกันมิให้เกิดสภาวะของการมี
                หนี้สินล้นพ้นตัว ในขณะที่ท้องถิ่นยังคงมีขีดความสามารถในการชำระหนี้ได้
                ตามกำหนด และมิได้ก่อให้เกิดภาระในการเตรียมงบประมาณเพื่อการชำระ
                หนี้ที่สูงเกินไปจนส่งผลให้งบประมาณสำหรับการพัฒนาเหลือน้อยลง

                ในกรณีเช่นนี้ กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (fiscal sustainability framework)
                ของรัฐบาล  เกี่ยวกับขนาดของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ (Debt Service
                          15
                Ratio) ที่ไม่ควรสูงเกินกว่าร้อยละ 15 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี อาจ
                ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขนาดของภาระรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ระยะ
                ยาวในระดับท้องถิ่นได้ต่อไป



                   15    รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จัดทำโดยสำนักงาน
                เศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง  อ่านได้ที่ http://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=
                Content&file=contentview&contentID=CNT0000777 (เข้าดูวันที่ 29 กรกฎาคม 2554)
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94