Page 90 - kpi12626
P. 90
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
กล่าวโดยสรุป ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องพิจารณาถึงภาระหนี้และความ
ยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวขององค์กรอย่างจริงจัง การก่อหนี้ในระยะยาว
มิใช่สิ่งที่เลวร้ายในตัวเอง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้และภาระหนี้
โดยรวมเป็นสำคัญ ดังนั้นคำถามทางการบริหารที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ
(1) ระดับหนี้สินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากหรือน้อยไปหรือไม่
(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะก่อหนี้เพื่อนำมาลงทุนในโครงการพัฒนา คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ด้านต่างๆ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองมากขึ้นได้หรือไม่ และ
(3) การก่อหนี้เพิ่มขึ้นจะก่อให้เกิดภาระในการชำระคืนหนี้เงินกู้ในแต่ละปี
มากหรือน้อยเพียงใด อยู่ในวิสัยที่ท้องถิ่นจะสามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อ
การดังกล่าวโดยไม่ก่อให้เกิดความตึงตัวในการจัดสรรงบประมาณต่อไปใน
ระยะยาวได้หรือไม่ หากท้องถิ่นสามารถสร้างสมดุลระหว่างขนาดของการก่อ
หนี้ระยะยาวภายใต้ขีดความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ที่เหมาะสมกับ
ขนาดของการจัดบริการสาธารณะและการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับเมืองและต่อความต้องการเร่งด่วนของประชาชน
ได้แล้ว ในกรณีเช่นนี้ฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งย่อมมีส่วนเกื้อหนุนให้ชุมชน
ท้องถิ่นเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนสืบต่อไป
5.3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความยั่งยืนทางการเงิน
ในระยะยาวของเทศบาลไทย
เพื่อให้เข้าใจถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการ
เงินในระยะยาวได้อย่างชัดเจน จึงขอนำเสนอการวิเคราะห์ความยั่งยืน
ทางการเงินในระยะยาวของเทศบาลกลุ่มตัวอย่าง 972 แห่งในแง่มุมต่างๆ ที่
อาจนำมาซึ่งแนวคิดสำหรับการกำหนดแนวทางในการบริหารงบประมาณ
และการก่อหนี้เพื่อการลงทุนพัฒนาท้องถิ่นได้ต่อไป ผลการวิเคราะห์
เทศบาลกลุ่มตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 5-2