Page 87 - kpi12626
P. 87

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                ที่ลำดับร้อยละ 25, 50, และ 75 ตามลำดับ ผู้บริหารขององค์กรปกครอง
                ท้องถิ่นสามารถเลือกใช้ค่าอ้างอิงลำดับต่างๆ สำหรับการเปรียบเทียบกับ

                ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวขององค์กรตนเองได้ตามสมควร
                พึงสังเกตว่าดัชนีชี้วัดตัวที่ 3, 4, และ 5 แสดงค่าอ้างอิงจากเทศบาล
                กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 972 แห่ง และจากเทศบาลที่มีการก่อหนี้ระยะยาว ซึ่งมี
                จำนวนเพียง 350 แห่งหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 36 ของเทศบาลกลุ่ม
                ตัวอย่างในช่วงปี 2552 ที่ได้สำรวจ ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและภาระ

                หนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับ
                ค่าเฉลี่ยของเทศบาลที่มีการก่อหนี้เป็นการเฉพาะได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด
                นั่นเอง

                      เมื่อได้คำนวณค่าดัชนีชี้วัดต่างๆ ครบเรียบร้อยทั้ง 5 ด้านแล้วนั้น
                ผู้บริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่นควรประเมินว่าความยั่งยืนทางการเงิน
                ในระยะยาวขององค์กรตนเองอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากน้อยเพียงใด มีภาระ

                หนี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ความเป็นไปได้
                ในประเด็นแรก หากพบว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหนี้สินระยะสั้น (หนี้สิน
                หมุนเวียน) ที่ไม่สูงนักและปราศจากซึ่งภาระหนี้ในระยะยาว อาทิ มีค่า
                อัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่า 1.0 เพียงเล็กน้อย มีขนาดของภาระหนี้ระยะ
                ยาวต่อประชากรราว 400 บาทโดยประมาณ และมีสัดส่วนของรายจ่ายเพื่อ
                การชำระหนี้ราวร้อยละ 2.0 เป็นต้น ในกรณีดังกล่าวถือได้ว่าท้องถิ่นแห่งนี้มี

                ความยั่งยืนทางการเงินระยะยาวในระดับที่ดีมากเมื่อเทียบเคียงกับเทศบาล
                กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้เป็นต้น
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92