Page 92 - kpi12626
P. 92
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1
ในภาพรวมนั้น อัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิของเทศบาลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
0.85 ซึ่งหมายความว่าหากเทศบาลแห่งต่างๆ จะต้องจำหน่ายสินทรัพย์
ทั้งหมดที่มีอยู่ (ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร) เพื่อการนำไปใช้
ชำระหนี้สินทั้งหมด (หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว) แล้วนั้น จะมี
สินทรัพย์คงเหลือสุทธิประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด
ในปัจจุบัน ระดับสินทรัพย์สุทธิดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าระดับหนี้สินโดย คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
เฉลี่ยของเทศบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมิได้ก่อให้เกิดภาระทางการเงินในระยะ
16
ยาวแก่เทศบาลมากนัก นอกจากนี้ เทศบาลกลุ่มตัวอย่างมีระดับหนี้สิน
ต่อเงินสะสมที่ไม่สูงมากนัก ระดับหนี้สินรวม (หนี้สินระยะสั้นและระยะยาว)
ต่อเงินสะสมของเทศบาลในวันสิ้นปีงบประมาณ (Debt to Reserve) อยู่ที่
ประมาณ 1.8 เท่าเพียงเท่านั้น ทั้งนี้พึงสังเกตว่าเทศบาลนคร เทศบาลเมือง
และเทศบาลตำบล มีระดับสินทรัพย์สุทธิที่มิได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
แต่ประการใด (F-statistics = 1.561, p-value = .211)
ประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการวิเคราะห์ไว้ก็คือเทศบาลที่เป็นกลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่นิยมการก่อหนี้ระยะยาวเท่าใดนัก จากเทศบาลจำนวน
972 แห่งที่ได้สำรวจ พบว่ามีเทศบาลเพียง 350 แห่งหรือประมาณร้อยละ 36
เท่านั้นที่มีการก่อหนี้ระยะยาวเพื่อนำมาใช้ในการลงทุนในโครงการต่างๆ
(ดูจากยอดเงินกู้คงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2552) และเมื่อพิจารณาในด้าน
ขนาดของภาระหนี้ระยะยาวแล้วนั้น เทศบาลมีภาระหนี้ต่อประชากรเฉลี่ย
เท่ากับ 1,690.4 บาท หรือมีอัตราส่วนภาระหนี้ระยะยาวต่อรายรับรวมเท่ากับ
20.55 โดยเฉลี่ย และมีสัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ราวร้อยละ 3.9
ของขนาดงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างที่มีการก่อ
หนี้ระยะยาว
16 อย่างไรก็ดี การตีความหมายของอัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิมีข้อจำกัดพอสมควร ทั้งนี้
เนื่องจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่ใช้ในการคำนวณนั้นมิได้มีการปรับค่าเสื่อมราคาตามอายุหรือ
ลักษณะการใช้งานแต่อย่างใด ตัวเลขดังกล่าวจึงยังมิได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงทางบัญชีใน
ปัจจุบัน