Page 93 - kpi12626
P. 93

2 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      จากข้อมูลภาระหนี้ระยะยาวของเทศบาลที่ไม่สูงมากนักเช่นนี้ จึงอาจ
                ตีความได้ว่าเทศบาลส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินเพื่อมาลงทุน

                ในโครงการต่าง ๆ มากนัก หรืออาจหมายความว่าเทศบาลส่วนใหญ่ยังคงมี
                ทัศนคติที่ไม่เปิดรับต่อการก่อหนี้ระยะยาว (debt aversion attitude) ซึ่งหาก
                เป็นในกรณีอย่างหลังแล้ว อาจไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาการลงทุนใน
                โครงสร้างพื้นฐานหรือการจัดบริการสาธารณะตามความจำเป็นเร่งด่วนใน
                พื้นที่ของเทศบาล และย่อมส่งผลต่อเนื่องในทางลบต่อการพัฒนาสังคม

                เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาวได้ 17

                      อย่างไรก็ดี เมื่อเทศบาลจำเป็นต้องก่อหนี้ระยะยาวแล้วนั้น เทศบาล
                ขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลในสัดส่วนที่
                สูงกว่าเทศบาลขนาดใหญ่ กล่าวคือเทศบาลตำบลมีสัดส่วนการก่อหนี้ระยะ
                ยาวเมื่อเทียบกับรายรับรวมราวร้อยละ 21.44 โดยเฉลี่ย ในทางกลับกัน
                เทศบาลเมืองและเทศบาลนครมีสัดส่วนของหนี้ระยะยาวต่อรายรับรวมของ

                เทศบาลโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 17.73 และ 12.52 ตามลำดับเท่านั้น และถ้า
                หากคิดเป็นภาระหนี้ระยะยาวต่อประชากรแล้วนั้น พบว่าเทศบาลตำบล
                เทศบาลเมือง และเทศบาลนครมีภาระหนี้ระยะยาวเท่ากับ 1,766.70,
                1,410.80 และ 1,289.25 บาทต่อประชากรตามลำดับ และมีสัดส่วนของราย
                จ่ายเพื่อการชำระหนี้ต่อรายจ่ายรวมทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 4.16, 3.14 และ
                1.75 ของงบประมาณรายจ่ายในปี 2552 โดยเฉลี่ยตามลำดับเช่นกัน


                      ในทำนองเดียวกัน เทศบาลที่มีขนาดเล็ก ซึ่งอาจพิจารณาได้ทั้งใน
                ด้านจำนวนประชากร ขนาดงบประมาณรายจ่าย หรือขอบเขตภารกิจในการ
                ให้บริการ มีแนวโน้มที่จะชดเชยการขาดดุลงบประมาณด้วยการก่อหนี้ระยะ

                   17    นักวิชาการหลายท่านได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการมีทัศนคติแบบ Debt Aversion จน
                ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการบริหารงานคลังในระบบ
                เงินสดโดยการเก็บสะสมเงินไว้ในมือให้มีจำนวนมากพอสำหรับการลงทุนพัฒนาโครงสร้าง
                พื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ให้เกิดผลเสียหลายประการต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
                ประชาชน อาทิ Varanyuwatana (2003), Krueathep (2010a, 2010b), จรัส สุวรรณมาลา (2541),
                ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ (2551), และ สกนธ์ วรัญญูวัฒนา (2553) เป็นต้น
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98