Page 94 - kpi12626
P. 94

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:     3


                  ยาวมากกว่าเทศบาลขนาดใหญ่ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะเทศบาล
                  ขนาดเล็กๆ ดังเช่นเทศบาลตำบลหรือเทศบาลที่มีประชากรจำนวนน้อยเป็น

                  ชุมชนที่มีฐานเศรษฐกิจขนาดจำกัด (restricted economic base) จึงส่งผล
                  ทำให้รายได้ในรูปของภาษีอากรมีขนาดที่จำกัดตามไปด้วย การก่อหนี้เพื่อนำ
                  เงินมาใช้ในการลงทุนพัฒนาเมืองจึงเป็นทางเลือกเชิงนโยบายด้านการเงิน
                  การคลังที่มีความจำเป็นเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ทั้งนี้พึงสังเกตว่าระดับ  คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  ภาระหนี้ระยะยาวของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมิได้สูงเกินไปจนก่อให้

                  เกิดข้อควรกังวลแต่ประการใด โดยส่วนใหญ่เทศบาลมีความยั่งยืนทางการ
                  เงินในระยะยาวในระดับที่ดีพอสมควรเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกรอบ
                  ความยั่งยืนทางการเงินของรัฐบาลดังที่ได้นำเสนอไว้แล้วก่อนหน้านี้นั่นเอง

                        เมื่อนำเสนอมาถึงจุดนี้ หากเราขยายมุมมองเกี่ยวกับความยั่งยืน
                  ทางการเงินในระยะยาวของเทศบาลโดยการพิจารณาเปรียบเทียบในเชิง
                  พื้นที่จังหวัดพบว่ามีความน่าสนใจที่สำคัญดังแสดงในแผนภาพที่ 5-1 และ

                  ตารางที่ 5-3 ด้านล่าง ข้อมูลในแผนภาพที่ 5-1 แสดงการจัดลำดับความ
                  ยั่งยืนทางการเงินของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในระดับจังหวัดเป็น 4 ช่วงตาม
                  การจัดแบ่งแบบควอไทล์ (quartile ranking)   โดยใช้ค่าดัชนีรวมของอัตรา
                                                       18
                  ส่วนความยั่งยืนทางการเงินทั้ง 5 ประการข้างต้น โดยที่ค่าควอไทล์ที่ 1
                  หมายความว่าเทศบาลในจังหวัดหนึ่งๆ โดยเฉลี่ยมีภาระหนี้ระยะยาว
                  ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเทศบาลในจังหวัดอื่นๆ ในทางกลับกัน

                  ค่าควอไทล์ที่ 4 (แสดงเป็นจังหวัดสีแดงในแผนภาพที่ 5-1) แสดงให้เห็นว่า
                  เทศบาลในจังหวัดนั้นๆ โดยเฉลี่ยมีภาระหนี้ระยะยาวในสัดส่วนที่สูงกว่า
                  เทศบาลในจังหวัดอื่นๆ









                     18    รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างดัชนีรวม (composite index) และการจัดลำดับควอไทล์
                  อ่านได้จากภาคผนวกที่ 2 ท้ายหนังสือเล่มนี้
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99