Page 110 - kpi15428
P. 110
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชาวบ้านบางส่วนเท่านั้นได้รับเอกสารสิทธิในปี 2537 แต่ที่ดินบางส่วนที่
เหลือกลับเป็นโรงงานอาหารสัตว์ของกรมปศุสัตว์ในภายหลัง (ประภาส
ปิ่นตบแต่ง และคณะ, 2549, น.44-45)
ผลจากการที่รัฐเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทหลักในการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะทำให้ชุมชนลดบทบาทหลักลงไปแล้ว
ได้ทำให้ชุมชนไม่อาจเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังเช่น
ในช่วงทศวรรษ 2500 รัฐนำการพัฒนาเข้าสู่ชุมชนทำให้ชุมชนได้รับ
ผลกระทบเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน คือ ระบบเอกสารสิทธิ์เริ่มมี
บทบาทเพราะเจ้าของที่ดินต้องการนำเอกสารสิทธิ์นั้นไปใช้ประโยชน์ในการ
กู้ยืมเงิน และต่อมาที่ดินก็ถูกนำเข้าสู่ระบบตลาดที่มีการซื้อขายกัน จนเป็น
เหตุให้เกิดการผูกขาดที่ดิน สิ่งนี้นับเป็นจุดเริ่มที่ชุมชนสูญเสียอำนาจในการ
บริหารจัดการที่ดินให้กับปัจเจกชน (ประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา,
2543, น.117 – 122) หรือการประกาศพื้นที่ป่าสงวนทับซ้อนที่ทำกินของ
ประชาชนที่อาศัยมาก่อน ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
ทำให้ประชาชนบางส่วนถูกกีดกันออกจากพื้นที่ทำกินเดิมของตน เพราะรัฐ
ไม่ได้มีการสำรวจก่อนประกาศเขตป่าสงวน อีกทั้ง ลักษณะการใช้ประโยชน์
จากป่าสงวนไม่เข้มงวดมากนักทำให้มีทั้งผู้ที่ได้รับและไม่ได้รับอนุญาตเข้าไป
ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่ากันอย่างหลากหลาย (คณะบุคคลโครงการสิทธิ
ชุมชน, 2554, น.88) หรือตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
ค่อนข้างมีผลกระทบมากกับชุมชนประมงขนาดเล็ก เพราะการประกาศเขต
อุทยานแห่งชาติทางทะเลทำให้ประชาชนในชุมชนไม่สามารถทำการประมง
หรือตั้งบ้านเรือนในเขตอุทยานแม้จะมีการตั้งถิ่นฐานก่อนที่กฎหมายจะออก
มาก็ตาม หากมีการประกาศเขตอุทยานแล้วก็จะมีผลบังคับทันทีโดยชุมชน
ไม่มีโอกาสโต้แย้ง (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.89)
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐ
ถือได้ว่ายังไม่มีความครอบคลุมเพียงพอ เมื่อรัฐเป็นผู้มีสิทธิและบทบาทหลัก
10