Page 114 - kpi15428
P. 114

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              ดังเดิม และเกิดความขัดแย้งระหว่างการประมงพาณิชย์กับการประมง

              พื้นบ้าน นอกจากนี้ กฎหมายยังมอบอำนาจให้กับส่วนกลางอย่างกระทรวง
              เกษตรและสหกรณ์กับกรมประมง และให้การมีส่วนร่วมของประชาชนต้อง
              ได้รับการคำสั่งจากรัฐมนตรีเสียก่อน (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน,
              2554, น.91-92)

                      นอกจากนี้ มีตัวอย่างกรณีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น

              การออกพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำ
              แร่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ท้องที่สามารถควบคุมปราบปรามการทำเหมืองแร่
              ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีการออกกฎหมายควบคุมก็ยังคงเกิดผลกระทบจาก
              การทำเหมืองแร่เพราะกิจการมีการปล่อยน้ำจากการทำเหมือง หรือกรณี

              การวางท่อก๊าซจากประเทศพม่าที่เริ่มในปี พ.ศ.2536 ซึ่งพื้นที่วางท่อก๊าซ
              เป็นพื้นที่ป่าสงวนและชุมชน ชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนจึงได้เรียกร้อง
              ไม่ให้มีการวางแนวท่อบนพื้นที่ดังกล่าว เพราะการวางท่อก๊าซในแนวพื้นที่
              ดังกล่าวมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว สัตว์ป่าในพื้นที่ การรั่วไหลของก๊าซที่

              อาจจะเกิดขึ้น และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยการกระทำ
              ดังกล่าวได้มีการตกลงกับประเทศพม่า
              v การตอบสนองต่อสภาพปัญหาของชุมชนและรัฐ

                ในช่วง พ.ศ.2475 – 2539

                    การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย
              ที่ผ่านมาในอดีต เน้นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ กฎระเบียบที่ตั้งขึ้นก็มาจาก
              การยอมรับร่วมกันของคนในชุมชนนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นรัฐล้านนา ซึ่งมี

              ความสัมพันธ์กับรัฐส่วนกลางด้วยระบบส่วยและตลาด และไม่มีกลไกของ
              ระบบแบบราชการเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ก็มีกฎหมายบางตัวที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
              บ้าง เช่น การกำหนดให้ยกเว้นหรือลงโทษผู้ที่ทำความเสียหายแก่ฝาย
              เหตุที่รัฐไม่ได้เข้าไปมีบทบาทมากก็เพราะจะทำให้ระบบตลาดไหลเวียน
              ไม่สะดวกและมีผลกระทบต่อส่วยในที่สุด รัฐจึงปล่อยให้ล้านนามีการ




              10
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119