Page 113 - kpi15428
P. 113
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เทคนิค และตีกรอบที่ดินทำกินของชาวบ้านแม้จะมีงานวิจัยในช่วงปี 1960-
1970 ที่ให้ข้อเท็จจริงว่าการทำไร่แบบเลื่อนลอยไม่ได้ทำความเสียหายให้กับ
ที่ดินมากนัก และยังเป็นหลักในการฟื้นฟูที่ดินตามวิถีของชาวบ้านอีกด้วย
แต่ข้อเท็จจริงเหล่านั้นก็ดูจะไม่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐเท่าไหร่นัก
(ประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา, 2543, น.76-77)
3. การสูญเสียสิทธิของชุมชนไม่คุ้มค่าเพราะการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐล้มเหลว นโยบายด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ส่วนใหญ่เน้นในเชิงอนุรักษ์
โดยภาครัฐเป็นผู้ทำหน้าที่หลัก แต่สภาพปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมยังไม่ลดลงเท่าที่ควร ตัวอย่างกรณีทรัพยากรป่าไม้ที่มีพื้นที่ป่า
ลดลงจากการทำสัมปทานซึ่งถือว่าไม่บรรลุผลด้านนโยบายในทรัพยากร
ธรรมชาติที่รัฐเป็นผู้บริหารจัดการ ทำให้รัฐกลับมาให้ความสำคัญกับ
การอนุรักษ์ป่าไม้ ดังมีเขตป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 20 เมษายน
พ.ศ.2518 และมีการยอมรับในทรัพย์สินของเอกชน แต่ยังคงไม่ยอมรับ
ทรัพย์สินชุมชน (อรรถจักร สัตยานุรักษ์ อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา,
2548, น.138-170)
กรณีการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำ
สาขาอย่างปิง วัง ยม น่าน แต่เดิมเป็นการจัดการเหมืองฝายโดยชุมชน
และใช้แรงร่วมกันในการบริหารจัดการฝาย ต่อมาเมื่อภาครัฐโดย
กรมชลประทานได้เข้ามาแทรกแซง ทำให้การจัดการน้ำกลายเป็นรัฐเป็น
ผู้จัดการแล้วประชาชนเป็นผู้จ่ายเงิน ความร่วมมือของชุมชนก็เสื่อมสลาย
ตามไปด้วย แต่ระบบชลประทานของรัฐก็ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์นัก
(Van Beek, 1995 อ้างใน ชูศักดิ์ วิทยาภัค, 2543, น.193) หรือการออก
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มีการประกาศใช้เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำ
แต่ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ เพราะยังมีการลักลอบจับสัตว์น้ำอยู่ เนื่องจาก
เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอการควบคุม ชุมชนชาวประมงไม่ได้มีความเป็นเจ้าของ
10