Page 115 - kpi15428
P. 115
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปกครองตนเองและด้วยความมีอิสระนี้ จึงทำให้ชุมชนมีกฎเกณฑ์ในการ
ปกครองและจัดการทรัพย์สินในชุมชน ส่วนกฎหมายของรัฐมีไว้เพื่อประกัน
สิทธิในการดำรงชีวิตของชาวบ้าน แต่ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การทำหน้าที่
ของชาวบ้าน หรือแม้กระทั่งไม่ได้ทำหน้าที่ตัดสินคดีความ เพราะชุมชน
เป็นผู้จัดการและกำกับดูแลของหน้าหมู่และลงโทษผู้กระทำผิดได้เอง เช่น
จัดสร้างฝายน้ำร่วมกัน การเจรจากันกับผู้ที่ละเมิดกฎชุมชน ซึ่งกฎของ
ชุมชนนี้นับได้ว่ามีประสิทธิภาพมากกว่ากฎหมาย เพราะว่าหากมีคนละเมิด
กฎแล้วจะทำให้คนอื่นๆในชุมชนนั้นได้รับผลกระทบไปด้วย (อรรถจักร
สัตยานุรักษ์ อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.126-138)
ตัวอย่างระบบการถือครองที่ดินของชุมชนในภาคเหนือนั้นไม่เป็นการ
ถือครองแบบกรรมสิทธิ์ ดังนั้น การถือครองจึงไม่ใช่ลักษณะการถือครอง
แบบปัจเจกชนเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่ถือครองโดยครอบครัว และ
เป็นไปตามความจำเป็น ไม่มีการผูกขาดการถือครองโดยคนใดคนหนึ่ง และ
การใช้ทรัพยากรชาวบ้านคนหนึ่งสามารถไปทำการเพาะปลูกในที่ดิน
ที่ครอบครัวอื่นถือครองได้โดยไม่มีความขัดแย้งกัน ในช่วงทศวรรษ 2500
รัฐนำการพัฒนาเข้าสู่ชุมชนทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการบริหาร
จัดการที่ดิน คือ ระบบเอกสารสิทธิ์เริ่มมีบทบาทเพราะเจ้าของที่ดินต้องการ
นำเอกสารสิทธิ์นั้นไปใช้ประโยชน์ในการกู้ยืมเงิน และต่อมาที่ดินก็ถูกนำเข้า
สู่ระบบตลาดที่มีการซื้อขายกัน จนเป็นเหตุให้เกิดการผูกขาดที่ดิน สิ่งนี้
นับเป็นจุดเริ่มที่ชุมชนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการที่ดินให้กับปัจเจกชน
(ประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา, 2543, น.117 – 122)
สำหรับชุมชนที่มีการเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรแบบหมุนเวียน
ยึดหลักการใช้สิทธิในการถือครองที่ดิน โดยให้ปัจเจกชนมีสิทธิใช้ที่ดินได้
ภายใต้การควบคุมการใช้ประโยชน์ตามประเพณีหมู่บ้าน หากผู้ใดปฏิบัติตน
ขัดแย้งกับความเชื่อก็จะถูกฟ้าดินลงโทษ เช่น ชุมชนกะเหรียงโปว์ซึ่งเป็น
กลุ่มคนที่ทำการเกษตรบนที่ดินโดยไม่ถือครองกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เป็น
107