Page 112 - kpi15428
P. 112
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมหรือเจนโก้ โดยมี
รัฐบาลถือหุ้นร้อยละ 25 ซึ่งสถานที่ตั้งได้ผ่านการต่อสู้เรียกร้องและ
ไม่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ตำบลปลวกแดง เพราะชุมชนมองว่าพื้นที่
ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมตามผังเมือง การศึกษาเพื่อเลือกพื้นที่จัดตั้ง
ศูนย์ไม่มีความชัดเจน และการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวทำให้อาจปนเปื้อนในแหล่ง
น้ำกินน้ำใช้ของชุมชน ต่อมาผู้นำประท้วงถูกลอบสังหารเป็นผลให้การต่อสู้
ของชุมชนยืดเยื้อออกไปอีก (ฉันทนา บรรพศิริโชติ, 2543, น.438 - 439)
หรือกรณีความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชนทุ่งยาว ประมาณทศวรรษที่
2520 – 2530 รัฐได้ออกกฎหมายเพื่อขยายฐานทรัพยากรของรัฐ เป็นผล
ให้เกิดการขับไล่ชาวบ้านที่ทำกินในพื้นที่ป่า แต่ชาวบ้านทุ่งยาวไม่ยอมรับ
และพยายามจะทำให้มีป่าชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดของสิทธิชุมชน
ขณะเดียวกัน กฎเกณฑ์ของรัฐที่ตั้งขึ้นก็ไม่สนองความหลากหลายของชุมชน
ได้ดีพอ จึงส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนด้วยกันเองด้วย ดังเช่น
กรณีการบุกรุกพื้นที่ป่าชุมชนทุ่งยาว จากชาวบ้านต่างถิ่น ในช่วงทศวรรษที่
2510 โดยรัฐเองยังไม่มีกฎหมายใดๆควบคุม ชาวบ้านทุ่งยาวจึงแสดงออก
ท่าทีต่อต้านการบุกรุกป่า เพราะมองว่าป่าเป็นของส่วนรวม (อรรถจักร
สัตยานุรักษ์ อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.138-170)
นโยบายที่รัฐกำหนดส่วนใหญ่เป็นการกำหนดจากส่วนกลาง
ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลที่นำมาใช้ขาดมิติของชุมชน ตัวอย่างเช่น การนำงานวิจัย
ของนักวิชาการที่ภาครัฐให้การยอมรับและมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย
เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินของชุมชนบนพื้นที่สูงมาใช้ ซึ่งมักเป็นงาน
วิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในเชิงเทคนิคที่อยู่บนฐานความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งขาดมิติด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต
ของชุมชนบนพื้นที่สูง โดยงานวิจัยส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นผลเสียจากการ
ทำการเกษตรของชุมชนบนพื้นที่สูงที่ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดิน คุณภาพ
ดินเสื่อม และข้อเสนอแนะของงานวิจัยเหล่านี้ก็เป็นข้อเสนอแนะในเชิง
10