Page 111 - kpi15428
P. 111
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในการดำเนินการ ชุมชนจึงมีหน้าที่หนึ่งคือการรองรับผลที่เกิดขึ้นจากการ
ดำเนินนโยบายของรัฐ เช่น กรณีการระเบิดหินของโรงโม่หินในจังหวัด
ราชบุรี ปี 2534 จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2536 และจังหวัดกาญจนบุรี
ปี 2540 ซึ่งภาครัฐให้สัมปทานแก่เอกชนแต่ทำให้เกิดผลฝุ่นละอองจาก
การระเบิดหิน (โอภาส ปัญญา และคณะ, 2543, น.335) หรือกรณีท่าเรือ
น้ำลึก จังหวัดสงขลาที่สมาพันธ์ประมงทะเลสาบได้ยื่นเรื่องเมื่อปี 2546 ต่อ
คณะกรรมการสิทธิเพื่อตรวจสอบผลกระทบจากการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เริ่ม
ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2532 และพบว่าการสร้างท่าเรือดังกล่าวทำให้
ขัดขวางต่อเส้นทางไหลของน้ำ จำนวนปลาลดลง เกิดตะกอนและน้ำเน่าเสีย
(ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ, 2549, น.47-48)
2. ความขัดแย้งในการใช้สิทธิระหว่างภาครัฐกับชุมชน และ
ระหว่างชุมชนกับชุมชน สภาพปัญหานี้ค่อนข้างเป็นความขัดแย้งระหว่าง
แนวคิดของชุมชนและรัฐ โดยชุมชนที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
มองว่าชุมชนควรเป็นผู้จัดการมากกว่ารัฐ เพราะชุมชนมีความใกล้ชิดและ
เป็นผู้ดูแลทรัพยากรเหล่านั้นมาก่อน ขณะที่ภาครัฐเองก็มองว่าการจัดการ
แบบรวมศูนย์น่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่า และวิธีชีวิตแบบชุมชน
ถือเป็นคู่ตรงข้ามในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาครัฐ เช่น
การทำเกษตรแบบเคลื่อนที่ไปเรื่อยซึ่งจะมีการแผ้วถางป่า เผาและทิ้งไว้
แล้วกลับมาใช้พื้นที่นั้นปลูกพืชอีกครั้ง (ประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา,
2543, น.56-60) ในขณะที่มุมมองของชาวบ้านนั้นเห็นว่ารัฐอาจมีอำนาจ
จัดการทรัพยากรป่าไม้ แต่ในส่วนของที่ดินนั้นชาวบ้านควรมีสิทธิเข้าไป
ดำเนินการจับจองได้ และแม้พวกตนจะเข้าไปตัดไม้แต่ก็เป็นการตัดที่ใช้
แรงงานเพื่อความอยู่รอดในการยังชีพ (จามะรี เชียงทอง, 2543, น.19)
เมื่อรัฐซึ่งเกิดขึ้นหลังชุมชนเข้ามากำหนดกฎเกณฑ์ในการบริหาร
จัดการทรัพยากรใหม่โดยไม่มีสิทธิของชุมชนในการจัดการนั้น จึงทำให้
เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชน ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2537
10