Page 116 - kpi15428
P. 116

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              ผู้อาศัยพื้นที่ทำกิน (ปิ่นแก้ว, 2534, น.93-95 อ้างใน ประเทือง นรินทรางกูล

              ณ อยุธยา, 2543, น.96-97)

                    อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่รัฐได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ
              ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแทนชุมชนและเป็นผลให้เกิดการขาด
              สิทธิของชุมชน ความขัดแย้งในการใช้สิทธิ และความไม่คุ้มค่าของสิทธิ
              ชุมชนที่ลดลงไปดังได้นำเสนอไปแล้วนั้น ชุมชนและภาครัฐถือเป็นตัวแสดง

              หลักๆ ที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาดังกล่าว โดยชุมชนมีการดำเนินการใน
              รูปแบบของการเรียกร้องสิทธิหรือมีการรวมกลุ่ม ขณะที่ภาครัฐมีการโต้ตอบ
              ต่อปัญหาโดยแสดงตนเป็นผู้ถือกฎและใช้กฎหมายเป็นหลักซึ่งมักขาดความ
              ยืดหยุ่น อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ ของช่วง พ.ศ.2475 – 2540 รัฐมีแนวโน้ม

              รับฟังและยอมรับสิทธิของชุมชนมากขึ้น
                    สำหรับชุมชนและรัฐที่มีความขัดแย้งระหว่างกันเกี่ยวกับการจัดการ

              ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้นั้น มีวิธีการตอบสนองต่อ
              ปัญหาและความขัดแย้ง ดังนี้

                    1. การดำเนินการของชุมชนต่อสภาพปัญหาด้านสิทธิชุมชน

                    
 การเรียกร้อง เช่น การเรียกร้องไม่ให้มีการวางแนวท่อบนพื้นที่ป่า
              สงวน ในโครงการท่อส่งก๊าซจากประเทศพม่าที่เริ่มในปี พ.ศ.2536 เพราะ

              การวางท่อก๊าซในแนวพื้นที่ดังกล่าวมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว สัตว์ป่า
              ในพื้นที่ การรั่วไหลของก๊าซที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
              ระหว่างประเทศ (โอภาส ปัญญา และคณะ, 2543, น.357)

                      การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือองค์กร
เช่น การรวมตัวกันเป็นชมรม
              อนุรักษ์ป่าของชาวบ้านบ้านกิ่วม่วง จังหวัดน่าน โดยมีการหยุดถางป่าและ
              ปลูกป่าทดแทน (จามะรี เชียงทอง, 2543, น.29) การรวมตัวกันของชุมชน

              ทุ่งยาวเพื่อต่อต้านการบุกรุกป่าจากชาวบ้านต่างถิ่น การขับเคลื่อนของชุมชน
              ทุ่งยาวเพื่อพัฒนาร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน (อรรถจักร สัตยานุรักษ์
              อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.138-170)


              108
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121