Page 58 - kpi15428
P. 58

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              เพราะเจ้าของที่ดินจะไม่สามารถใช้น้ำหากไม่เสียค่าน้ำแม้แหล่งน้ำนั้นจะอยู่

              ในที่ดินของตนเองก็ตาม ซึ่งตามแนวทางใหม่นี้จะกำหนดจำนวนน้ำที่ใช้เพื่อ
              ดำรงสถานะทางสุขภาพก่อน จากนั้นจึงกำหนดโควตาในแหล่งเก็บน้ำแต่ละแห่ง
              ในแต่ละปี กำหนดผู้ที่จะได้รับการจัดสรรน้ำจากโควตา และกำหนดจำนวนน้ำ
              ที่สามารถใช้ได้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตรเชิงพาณิชย์และ

              บริษัทผู้จัดส่งน้ำจะได้รับการจัดสรรก่อน ส่วนผู้ที่ไม่สามารถสร้างผลกำไร
              ให้เกิดขึ้นจากการใช้น้ำจะถูกจัดสรรน้ำทีหลังตามหลักการใช้ประโยชน์สูงสุด

                    แนวทางดังกล่าวมีความสอดคล้องตามกฎหมายจารีตประเพณี
              ในประเด็นที่ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะน้ำ
              ที่เป็นน้ำผิวดินหรือน้ำไหลผ่านเป็นทรัพยากรส่วนรวมที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของได้

              (O’Donnell, 2011, pp.33-36) อย่างไรก็ดี ได้มีกฎหมายใหม่ที่ให้สิทธิแก่
              ชนพื้นเมืองในการจัดสรรน้ำเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ หรือตัดสินเกี่ยวกับ
              ความยั่งยืนในการใช้น้ำ และให้มีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการจัดสรรน้ำที่เป็นไป
              เพื่อสังคมและเศรษฐกิจของชนพื้นเมือง

                    ลักษณะกฎหมายของออสเตรเลียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ

              เป็นการสืบทอดต่อจากประเทศอังกฤษซึ่งเป็นแบบจารีตประเพณี เพราะ
              ออสเตรเลียมีสภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่โดดเด่น โดยช่วงก่อน
              ศตวรรษที่ 19 – 20 ยังไม่มีกฎหมายหลักซึ่งยอมรับสิทธิชนพื้นเมืองที่หลากหลาย
              ต่อมารัฐสภาอาณานิคมแห่งวิคตอเรีย (The Colonial Parliaments of
              Victoria) และ รัฐNew South Wales ได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวกับน้ำ

              จนกระทั่งปัจจุบันได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำอยู่ในทุกรัฐ
              กฎหมายเหล่านั้นกล่าวถึงสิทธิในการใช้และควบคุมน้ำ โดยสิทธิในการใช้
              และควบคุมน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบบนผิวดินถูกมอบให้กับผู้ครองเมือง

              (The crown) กฎหมายที่ตามมาหลังจากนี้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจารีต
              ประเพณีและสิทธิในการใช้น้ำได้ถูกอภิปรายโต้เถียงกันมาหลายทศวรรษ
              จนกระทั่งได้มีการให้ความเป็นเจ้าของผ่านสิทธิทางกฎหมายในการใช้น้ำ
              ที่จัดการผ่านอำนาจศาลของแต่ละรัฐ (O’Donnell, 2011, pp.37-38)


               0
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63