Page 54 - kpi15428
P. 54
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Act 7160, 1991) ซึ่งให้อำนาจแก่องค์กรท้องถิ่นในการจัดการการประมง
เช่น เทศบาลอาจมีการจัดเก็บค่าเช่า ค่าธรรมเนียม โดยไม่จำเป็นต้องมีการ
รับรองหรืออนุญาตจากหน่วยงานระดับประเทศ แต่ยังคงมีการจำกัดปริมาณ
การประมงของสัตว์น้ำแต่ละชนิดอยู่ เพราะท้องถิ่นจะต้องดำรงไว้ซึ่งความ
หลากหลายทางชีวภาพด้วย (Mulekom, 2008, p.5)
ต่อมาในปี ค.ศ.1998 สำนักทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมง ถูกจัด
ให้เป็นหน่วยงานที่นำนโยบายด้านการประมงไปปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย
ว่าด้วยการประมงของฟิลิปปินส์ (Philippine Fisheries Code of 1998)
ซึ่งประมวลกฎหมายนี้มีข้อเสนอแนวคิดใหม่ คือ ให้มีการจำกัดการเข้าถึง
การประมงโดยมีพื้นฐานการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์ การบูรณาการ
การจัดการระหว่างหน่วยปกครองท้องถิ่น (Local Governance Unit) และ
รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและจัดตั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยมีการตั้ง
คณะกรรมการที่เรียกว่า Fisheries and Aquatic Resource Management
Councils (FARMCs) ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ทำให้หน่วยบริหารในท้องถิ่น
มีความชัดเจนในการจัดการทรัพยากร
ตามประมวลกฎหมายว่าด้วยการประมงนี้ มีผลต่อการจัดตั้งองค์กร
ในระดับท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการประมงพื้นบ้าน
และชุมชนชายฝั่ง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการ (FARMCs) ของเทศบาล
ซึ่งคณะกรรมการนี้จะทำกรอบเพื่อการมีส่วนร่วมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
ท้องถิ่นในกระบวนการวางแผนนโยบายและนำโครงการเกี่ยวกับการประมง
ไปใช้ และเป็นคณะกรรมการที่จะช่วยให้ชุมชนมีบทบาทเชิงรุกในการบริหาร
จัดการทรัพยากรชายฝั่ง โดยคณะกรรมการมีตัวแทนจากเทศบาล
การประมงพาณิชย์ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการประมง ตัวแทน NGOs ตัวแทน
ภาคเอกชน ตัวแทนจากหน่วยราชการท้องถิ่น (LGU) ตัวแทนจากสำนัก
ทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมง และกรมการเกษตร ขณะเดียวกัน
คณะกรรมการนี้ยังมีบทบาทในระดับชาติโดยเป็นผู้ให้คำแนะนำต่อ