Page 53 - kpi15428
P. 53
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์คล้ายคลึงกับไทย คือ เป็นประเทศเกษตรกรรม
ประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศ
ที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย (กองเอเชียตะวันออก
กระทรวงการต่างประเทศ, 2550)
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรชายฝั่ง
และชุมชนชายฝั่งก็มีวิถีชีวิตส่วนใหญ่ที่พึ่งพาทรัพยากรเหล่านี้ แต่ชุมชน
ชายฝั่งซึ่งมีอาชีพเป็นชาวประมงกลับยากจนและยังมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
น้อยกว่าที่ควรจะเป็น (Rivera-Guieb & Jarabejo, 2001 quoted in
Department of Environment and Natural Resources: DENR, 2005,
p.30)
สำหรับนโยบายด้านสิทธิชุมชนในประเทศฟิลิปปินส์ อาจถือได้ว่า
เริ่มมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
ทรัพยากรชุมชน (Community Resource Management: CRM) และได้
เกิดการจัดตั้งพื้นที่ปกป้องทางทะเลโดยมีชุมชนเป็นฐาน (Community-
based Marine Protected Areas) จนกระทั่งช่วงศตวรรษที่ 1990 ได้มี
กรอบทางนโยบายและกฎหมายแห่งชาติเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
(USIAD, 2004) ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถือเป็นช่วงที่มีแนวคิดเกี่ยวกับ
CBNRM เข้ามา ซึ่งขณะนั้นกฎหมายเกี่ยวกับการประมงยังคงเป็นแบบ
รวมศูนย์และเน้นการจับสัตว์น้ำในปริมาณมาก ต่อมารัฐบาลฟิลิปปินส์
ได้พยายามที่จะแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการประมง
หน่วยงานระดับชาติของฟิลิปปินส์ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องการ
ประมง คือ สำนักทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมง (Bureau of Fisheries
and Aquatic Resources: BFAR) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กรม
เกษตรกรรม (Department of Agriculture: DA) ส่วนกฎหมายที่พยายาม
ทำให้เกิดการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงจาก
ส่วนกลางไปสู่ชุมชน ได้แก่ The Local Government Code (Republican