Page 136 - kpi15476
P. 136

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   135


                      วิทยาศาสตร์เชื่อในความก้าวหน้าของมนุษย์และปฏิเสธความเชื่องมงายทางศาสนา ทำให้ในที่สุด
                      แล้ว พระเจ้ากุสตาฟที่สามได้รับการยกย่องว่าเป็น “Enlightened Despot”


                            พระเจ้ากุสตาฟที่สามจึงเป็นกษัตริย์ที่มีหัวสมัยใหม่ก้าวหน้ากว่ากษัตริย์สวีเดนที่ผ่านมา
                      ดังนั้น การที่พระองค์ตัดสินใจยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับสู่ระบอบ

                      สมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงเป็นกรณีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยคำถามก็คือ การตัดสินใจกลับสู่ระบอบ
                      สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์ไม่ขัดกับกระแสภูมิปัญญาสมัยใหม่หรือ (Enlightenment)

                      ที่พระองค์ยึดถือดอกหรือการกระทำดังกล่าวของพระองค์นับว่าเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ
                      ในปี ค.ศ. 1772 อันเป็นช่วงเวลาที่บริบทของยุโรปกำลังอยู่ในช่วงแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง?


                            ในการตอบคำถามดังกล่าวนี้ คงต้องพิจารณาแนวคิดที่เรียกว่า “enlightened despot” รวมถึง
                      enlightened absolutism, benevolent or enlightened despotism ด้วยมีนักประวัติศาสตร์

                      จำนวนไม่น้อยซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Derry  ในยุคต่อมาที่ขนานนามพระเจ้ากุสตาฟที่สามว่าเป็นหนึ่ง
                                                          16
                      ในกษัตริย์ที่เป็น “enlightened despot” ที่กล่าวว่าการขนานนามดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในยุคต่อมา
                      ก็เพราะว่า คำว่า “enlightened despot” นี้แม้จะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครคือผู้บัญญัติคำนี้ขึ้น

                      กระนั้น มีหลักฐานบ่งชี้ว่าคำๆนี้ถูกบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1847 โดยนักเศรษฐศาสตร์และ
                      ประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันที่ชื่อ วิลเฮล์ม รอสเชอร์ (Wilhelm Georg Friedrich Roscher: 1817-

                      1894)



                      การปกครองตามหลักภูมิธรรม (the Enlightenment)




                            และความหมายของแนวคิดดังกล่าวนี้ก็หมายถึง ผู้ปกครองที่เป็นกษัตริย์ในระบอบสม
                      บูรณาญา สิทธิราชย์หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดที่ได้รับอิทธิพลจากกระแส

                      ภูมิปัญญาสมัยใหม่ (Enlightenment) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับหลักการความคิดที่มีเหตุ
                      มีผล และประยุกต์ใช้หลักการดังกล่าวในการบริหารกิจการบ้านเมือง หลักการความคิดที่มีเหตุผล
                      ที่ว่านี้ย่อมนำมาหลักการสำคัญดังนี้คือ


                            หนึ่ง มุ่งให้สังคมมีขันติธรรมทางศาสนา (religious toleration) ไม่งมงายคลั่งไคล้

                      จนทำร้ายผู้อื่นที่มีความคิดเห็นแตกต่าง

                            สอง การเชื่อในความคิดที่มีเหตุมีผลย่อมเปิดโอกาสให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดง

                      ความคิดและมีเสรีภาพในการเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเพื่อรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ (freedom
                      of speech and freedom of press)


                            สาม ยอมรับกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล และ




                         16   T.K. Derry, A History of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark, Finland, Iceland, (London:   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      George Allen & Unwin: 1979).
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141