Page 132 - kpi15476
P. 132
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 131
ถ้าไม่นับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเรา จะพบว่า การยกย่อง
พระมหากษัตริย์ว่าเป็น “มหาราช” ในแต่ละประเทศได้สิ้นสุดลงในราวต้นศตวรรษที่ยี่สิบ โดย
พระมหากษัตริย์สามพระองค์สุดท้ายในโลกที่ได้รับการยกย่องจากประเทศตนเองว่าเป็น
“มหาราช” คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค.ศ. 1853-1910) พระจักรพรรดิเมจิ
7
แห่งญี่ปุ่น (ค.ศ. 1852-1912) และพระเจ้ามูบารัคแห่งคูเวต (ค.ศ. 1840-1915) หลังจากนั้น ใน
ประเทศใดก็ตาม ไม่มีการยกย่องพระมหากษัตริย์ว่าเป็น “มหาราช” อีกต่อไป อาจจะด้วยสาเหตุ
สำคัญประการเดียว นั่นก็คือ กระแสการยกย่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยากหรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้
อีกภายใต้กระแสคลื่นแห่งประชาธิปไตยนิยม ด้วยกระแสคลื่นนิยมประชาธิปไตย ส่งผลให้การ
เคารพยกย่องสถาบันหรือองค์พระมหากษัตริย์ลดน้อยถอยลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์
ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งระบอบดังกล่าวนี้นับวันก็จะเหลือน้อยลงทุกที หรือไม่ว่าจะเป็น
พระมหากษัตริย์ในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญก็ตาม
แม้ว่ากระแสประชาธิปไตยนิยมของโลกส่งผลให้การยกย่ององค์พระมหากษัตริย์ในฐานะ
ที่เป็น “เอกบุคคล” ลดน้อยถดถอยลง แต่ก็มิได้ทำให้กระแสนิยมผู้นำทางการเมืองที่เป็น
“เอกบุคคล” ของมหาชนลดน้อยถดถอยลงไม่ แต่มหาชนสามารถที่จะนิยมยกย่อง “เอกบุคคล”
ที่เป็นผู้นำทางการเมืองในปัจจุบันได้มากเท่าหรือมากกว่าที่เคยนิยมยกย่อง “เอกบุคคล” ที่เป็น
พระมหากษัตริย์ในอดีตเสียด้วยซ้ำ เพราะในบริบททางการเมืองปัจจุบัน บุคคลธรรมดาสามัญ
ก็สามารถเป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” (the Great) ได้ไม่ต่างพระมหากษัตริย์ เพียงแต่เขาอาจจะได้รับการ
ยกย่องว่าเป็น “มหาราษฎร์” แทน “มหาราช”
ความนิยมยกย่องหรือไม่นิยมยกย่องผู้มีอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันจึงมิได้ขึ้นอยู่กับ
เงื่อนไขของการที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองมิได้เป็น “เอกบุคคล” เท่ากับว่า “เอกบุคคล” ผู้มีอำนาจ
ทางการเมืองนั้นตอบสนองความต้องการอันไม่มีขอบเขตและขีดจำกัดของประชาชน และยัง
สามารถอ้างอิงแหล่งที่มาของอำนาจทางการเมืองของตนจากประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้งหรือ
เป็นที่ยอมรับยกย่องจากประชาชนได้ก็ด้วยเงื่อนไขที่ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชน
แต่สำหรับผู้ปกครองในระบอบกษัตริย์หรือสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์แล้ว การยอมรับยกย่อง
“เอกบุคคล” อย่างยิ่งใหญ่โดยประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่มีวาระจำกัดเช่นนั้นถือเป็นเรื่องแปลก
อัศจรรย์และหากดำเนินไปได้ดีก็เป็นที่น่าสรรเสริญ ดังที่ปรากฎความในพระราชสาส์นในพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตอบรับสาส์นจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาว่า “แลซึ่งในแผ่นดิน
ยุไนติศเตศอเมริกามีขนบธรรมเนียมตั้งไว้ แลสืบมาแต่ครั้งปริไสเดนด์ยอมวัดชิงตัน ให้ราษฎรทั้ง
แผ่นดินพร้อมใจกันเลือกสรรบุคคลที่ควรจัดไว้เป็นชั้น แล้วตั้งให้เป็นปริไสเดนด์ใหญ่แลปริไสเดนด์
รอง ครอบครองแผ่นดินผู้ชี้ขาดว่าราชการบ้านเมืองเป็นวารเป็นคราวมีกำหนดเพียง 4 ปีแล 8 ปี
แลให้ธรรมเนียมนี้ยั่งยืนอยู่ได้ ไม่มีการขัดขวางแก่งแย่งกัน ด้วยผู้นั้นๆจะช่วงชิงอิสริยยศกัน
เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ดังเมืองอื่นๆ ซึ่งเป็นอยู่เนืองๆ นั้นได้ ก็เห็นว่าเป็นการอัศจรรย์ยิ่งนัก
เป็นขนบธรรมเนียมที่ควรจะสรรเสริญอยู่แล้ว”
8
7 http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_people_known_as_the_Great เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
8 “พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตอบรับสาส์นจากประธานาธิบดี จ.ศ. 1222 (พ.ศ.
2403) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานไปยังประเทศต่างๆ (พระนคร:
โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม: 2501), หน้า 150.