Page 134 - kpi15476
P. 134
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 133
การถวายพระราชสมัญญาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราว่า “สมเด็จพระภัทรมหาราช”
และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 มีการถวายใหม่ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
12
มหาราช” และ “พระภูมิพลมหาราช”
II จากราชาปราชญ์ของขงจื่อ ธรรมราชาของพระเจ้าอโศก และราชา
ปราชญ์ของเพลโต สู่ กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม (the Enlightened
Absolutism)
นอกจากการยกย่องด้วย “มหาราช” แล้ว ในจารีตความคิดทางการเมืองตะวันตก ก็ยังมี
แนวคิดเรื่อง “ผู้ปกครองที่เป็นปราชญ์” หรือ “philosopher-ruler/king” ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจ
จะต้องมีปัญญาความรู้และคุณธรรม ที่เกิดขึ้นในปรัชญาการเมืองของเพลโตตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ
ขณะเดียวกัน จารีตความคิดทางการเมืองตะวันออกของจีน ก็มีแนวคิดที่คล้ายๆ กันนี้ที่ปรากฎใน
ข้อเขียนของขงจื่อที่เป็นที่รู้จักกันในวงการวิชาการตะวันตกว่า “sage-king” ที่เมื่อแปลเป็นไทยแล้ว
13
ก็ได้ความไม่ต่างจาก “philosopher-king” ของอินเดียก็แนวคิดเรื่อง “ธรรมราชา” ที่ได้รับ
อิทธิพลจากคติธรรมในพุทธศาสนา ทั้งสามแนวคิดดังกล่าวนี้ นั่นคือ “sage-king” “ธรรมราชา”
และ “philosopher-king” ต่างอุบัติขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันแต่หลัง “มหาราช” 14
แต่แนวคิดในการยกย่องกษัตริย์ที่อาจจะไม่ได้มีบริบทกำเนิดที่เก่าแก่ขนาด “มหาราช”
“ธรรมราชา” “philosopher-king” หรือ “sage-king” ก็คือ “Enlightened Absolutism” หรือ
อีกคำหนึ่งก็ยิ่งจะใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นอีก นั่นคือ “Enlightened Despotism” เพราะ
“enlightenment” เกิดขึ้นกับสามัญชนก่อน แล้วค่อยส่งอิทธิพลไปสู่กษัตริย์ ในขณะที่
“philosopher-king” ดูจะเป็นมนุษย์ที่มีธรรมชาติพิเศษและก็มีน้อยคนที่จะมีปัญญาคุณธรรม
เช่นนั้น เพราะปัญญาคุณธรรมความดีที่แท้จริงของเพลโตคืออะไรนั้น ก็ยังเป็นที่ถกเถียงและดูจะ
ลึกลับน่าพิศวง (mystic) แต่ “enlightenment” เกิดขึ้นในบริบทโลกสมัยใหม่ และมีเกณฑ์ที่ค่อน
ข้างชัดเจน
ตามตำรา A History of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark, Finland,
Iceland (London: George Allen & Unwin: 1979) ของ T.K. Derry ได้กล่าวไว้ว่า พระมารดา
12 http://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
13 Fung Yu-lan, A History of Chinese Philosophy: Volume I The Period of the Philosophers
(from the beginnings to circa 100 B.C.) translated by Derk Bodde, (Princeton: Princeton University
Press: 1983, rpt.), p. 2. ยูลาน (Yu-lan) กล่าวว่า สำนักปรัชญาจีนเกือบทั้งหมด รวมทั้งขงจื่อได้สอนถึงวิถีที่เรียกว่า
“ภายในเป็นปราชญ์ ภายนอกเป็นกษัตริย์” (Inner Sage and Outer King) “ภายในเป็นปราชญ์” คือบุคคล
ที่บ่มเพาะคุณธรรมให้เกิดขึ้นภายในตัวเอง และ “ภายนอกเป็นกษัตริย์” คือ บุคคลที่สามารถกระทำการอันยิ่งใหญ่
ในโลกให้สำเร็จได้ หลักการดังกล่าวนี้ถือเป็นอุดมคติสูงสุดของมนุษย์ ที่สามารถมีทั้งคุณธรรมของความเป็นปราชญ์
และสามารถประสบความสำเร็จในทางฐานะของความเป็นผู้ปกครอง และได้เป็น “Sage-King” ซึ่งตรงกับ
“Philosopher-King” ในปรัชญาการเมืองของเพลโตนั่นเอง
14 ขงจื่ออยู่ในช่วง 551-479 ก่อนคริสตกาล “ธรรมราชา” เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก นั่นคือ 304-232 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ก่อนคริสตกาล และเพลโตมีชีวิตอยู่ในช่วง 427-347 ก่อนคริสตกาล