Page 137 - kpi15476
P. 137

13      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       สี่ มุ่งพัฒนาการศิลปะวิทยาการและการศึกษา


                       โดยทั่วไป กล่าวได้ว่า ผู้ปกครองหรือผู้ที่เชื่อในแนวคิดดังกล่าวนี้ แม้ว่าจะยังยืนยันในอำนาจ
                  การปกครองที่สมบูรณ์เด็ดขาด แต่พวกเขาไม่เชื่อว่าอำนาจการปกครองนี้เป็นอาณัติจากพระผู้เป็น
                  เจ้าตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ (divine right) ตามความคิดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุโรปตั้งแต่ยุคกลาง

                  อีกต่อไป แต่พวกเขามักจะยอมรับในหลักการสัญญาประชาคม (social contract) นั่นคือ อำนาจ
                  สมบูรณ์เด็ดขาดขององค์อธิปัตย์หรือพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจที่มาจากอำนาจของประชาชน

                  และกษัตริย์หรือผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องปกครองด้วยปัญญาอย่างมีเหตุมีผล อย่างไรก็ตาม เกณฑ์
                  ที่จะบอกว่ากษัตริย์พระองค์ใดเป็น “enlightened despot” โดยยึดกับแนวคิด “สัญญาประชาคม”
                  จะมิได้ใช้ได้เสมอไป เพราะในกรณีของสมเด็จพระจักรพรรดินีแคเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย

                  (ครองราชย์ 1762-1796) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “enlightened despot” พระองค์หนึ่ง
                  เพราะพระนางทรงรับแนวคิดแห่ง “ยุคเรืองปัญญา” (Enlightenment) ต่างๆ มากมาย และ

                  ทรงรับแนวคิดของพวก “philosophes” ของฝรั่งเศส----โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มงเตสกิเออ
                  (Montesquieu) นักทฤษฎีการเมืองฝรั่งเศสเจ้าของทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย----
                  อีกทั้งทรงริเริ่มปฏิรูประบบกฎหมายของรัสเซียให้ทันสมัยและเที่ยงธรรม  แต่พระนางกลับทรง

                  ปฏิเสธหลักการปกครองแนว “สัญญาประชาคม” โดยสิ้นเชิง !


                       อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า นัยของการเป็นผู้ปกครองในความหมายดังกล่าวนี้ก็คือ แม้ว่า
                  กษัตริย์จะเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด แต่ก็ทรงใช้พระราชอำนาจนั้นไปในทางที่จะ
                  พัฒนาคุณภาพชีวิตของไพร่ฟ้าราษฎร และแน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวย่อมทรงผลให้สถาบัน

                  พระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมและเข้มแข็งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นัยสำคัญของการเป็น
                  “enlightened despot” อยู่ตรงที่องค์อธิปัตย์ผู้มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดนี้ตระหนักว่าอะไรคือ

                  ผลประโยชน์ที่แท้จริงของราษฎรมากกว่าที่ตัวราษฎรจะรู้เสียอีก !

                       ด้วยนัยดังกล่าวนี้เอง ผู้ปกครองจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ราษฎรมีส่วนร่วมทาง

                  การเมือง ซึ่งปราชญ์ชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงอย่างวอลแตร์---ผู้ที่พระเจ้ากุสตาฟที่สามมีความ
                  สนิทสนมชิดเชื้อและชื่นชมยกย่อง---จึงยืนยันว่า หนทางเดียวที่จะพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่าง

                  ได้ผลแท้จริง ก็คือ สังคมควรยอมอยู่ภายใต้อำนาจนำของกษัตริย์ผู้ทรงภูมิปัญญานี้ วอลแตร์เชื่อ
                  มั่นว่า ระบอบการปกครองภายใต้ผู้นำแบบนี้คือระบอบการปกครองที่ดีที่สุด


                       จะว่าไปแล้ว “enlightened despot” ก็ดูจะไม่ต่างจากแนวคิด “ราชาปราชญ์” ของ
                  นักปรัชญาการเมืองกรีกโบราณผู้ยิ่งใหญ่อย่างเพลโตที่ในบทสนทนา “the Republic” ของเขา

                  ปรากฎข้อความในเล่มห้า 473d: “นอกเสียจากผู้ทรงคุณธรรมปัญญาจะได้เป็นผู้ปกครอง หรือ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เหล่าผู้คนหลากหลาย ณ ขณะนี้ที่มุ่งแสวงหาคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนี้แยกกันออกไป มันจะ
                  ผู้ปกครองมุ่งแสวงหาคุณธรรมปัญญาอย่างจริงจังและมีคุณภาพเพียงพอ และเมื่อมีการเชื่อมต่อ

                  ระหว่างคุณสมบัติทั้งสองนี้แล้ว นั่นคือ อำนาจทางการเมือง กับคุณธรรมปัญญา และจะต้องกัน


                  ไม่มีทางที่ความยุ่งยากทั้งหลายทั้งปวงจะยุติลงได้” ซึ่งที่จริงแล้ว ต้องเรียกว่า “ผู้ปกครองที่เป็น

                  ปราชญ์” หรือ “philosopher ruler” เพราะข้อเขียนของเพลโตไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นบุรุษเท่านั้น
                  แต่รวมถึงสตรีด้วย
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142