Page 163 - kpi15476
P. 163

1 2     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ความนำ



                       คำว่า “พระธรรมราชา” พบบ่อยครั้งในเอกสารวิชาการของไทย เช่นเดียวกับที่พบคำว่า

                  “ธรรมราชา” ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

                       คำว่า ธรรมราชา และ พระธรรมราชา เป็นคำใช้เรียกที่ไพเราะและบ่งบอกถึงสถานภาพ

                  อันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่ถูกเรียก ในเอกสาวิชาการของไทย มักพบการใช้คำว่า
                  พระธรรมราชา ในฐานะเป็นพระนามหรือส่วนขยายพระนามของพระมหากษัตริย์ไทยหลาย
                  พระองค์ นับตั้งแต่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาลงมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งสถาปนาโดยพระมหา

                  กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีอันเป็นราชวงศ์ปัจจุบันของไทย เช่นเดียวกับในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
                  (ฝ่ายบาลี) ที่มักพบการใช้คำว่า ธรรมราชา ในฐานะเป็นส่วนขยายพระนามของพระเจ้าจักรพรรดิ์

                  พระราชาสามัญ และแม้แต่พระพุทธเจ้า


                       สิ่งที่คิดและยอมรับกันแต่แรกก็คือ แน่นอนว่า พระธรรมราชาของไทยจะต้องได้รับอิทธิพล
                  มาจากคำว่า ธรรมราชา ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา แต่ยังไม่มีคำตอบแน่ชัดว่ามีความ
                  หมายสอดคล้องกันแค่ไหน? และเพียงใด?


                       ผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาเพื่อทำความหมายนี้ให้ชัดเจน โดยมีสมมติฐานอยู่ในใจว่ามีความ
                  หมายสอดคล้องกัน  ส่วนจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นน่าจะตัดสินได้ไม่ยาก หากสามารถเข้าใจ

                  ความหมายของธรรมราชาอันเป็นที่มาของพระธรรมราชา และน่าจะเป็นที่มาของระบบ
                  ประชาธิปไตยที่คนไทยปรารถนา



                  ธรรมราชาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา



                       คัมภีร์พระพุทธศาสนาในที่นี้ หมายถึง พระไตรปิฎกและอรรถกถา (คัมภีร์อธิบายขยาย

                  ความพระไตรปิฎก) ผู้เขียนได้รวบรวมศึกษาและขอนำเสนอไปตามลำดับ

                     ก. ในพระไตรปิฎก



                         พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก มี 3 คือ พระวินัย
                  ปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก รวบรวมเสร็จครบเป็นพระไตรปิฎกในรัชกาลของ
                  พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งชมพูทวีป (ซึ่งในครั้งนั้นมีเนื้อที่ครอบคลุมทั้งปากีสถาน บังคลาเทศ

                  ดินแดนตอนใต้ของเนปาลและบางส่วนของอาฟฆานิสตาน) พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 3
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   พระพุทธเจ้าแล้วก็ยังมีความรู้อื่นๆ ที่ร่วมยุคกับพระพุทธเจ้าอีกมาก ไม่เว้นแม้กระทั่งด้านสังคม
                  แห่งราชวงศ์โมริยะหรือเมารยะ ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จ

                  ดับขันธปรินิพพานได้ 236 ปี เรื่องน่ารู้ในพระไตรปิฎกนอกจากส่วนที่เป็นคำสอนของ


                  การเมืองการปกครอง คำว่า ธรรมราชา เองก็พบได้ในพระไตรปิฎก ซึ่งผู้เขียนพบว่า มีใช้ขยาย

                  ความหมายในหลายฐานะ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168