Page 158 - kpi15476
P. 158
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 15
ค้นพบ....ความคิดทางการเมืองของเซอร์โทมัส มอร์....คำอธิบายตัวแทนประชาชนของเจมส์
เมดิสัน” เป็นสัจจธรรมความจริง อาการ “enlightened” หรือความรู้ของบุคคลทั้งสามก็มิได้ถูก
จำกัดแต่เฉพาะในบริบทของตัวเอง แต่มีความเป็นสากล ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่มุมมองและความเชื่อ
ส่วนนัยที่สองของ “enlightened” ก็คือ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นและพัฒนาต่อเนื่องจากช่วง
ศตวรรษที่สิบเจ็ดถึงสิบแปด ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว และมี
อิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วยุโรปและรวมถึงทวีปอื่นๆในเวลาต่อมา อันเป็นความรู้ที่อิงอยู่กับเหตุผล-
สลัดตัวหลุดจากความคิดแบบศาสนายุคกลาง และขบวนการทางความคิดดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า
“the Enlightenment” (หรือที่แปลเป็นไทยว่า “ยุคแห่งการรู้แจ้ง” บ้าง หรือ “ยุคแห่งภูมิธรรม”
บ้าง และใช้ “E” ตัวใหญ่เสมอ) ซึ่งชุดความคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะองค์ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่รวมถึงความรู้และจริยธรรมทางการเมืองด้วย ซึ่งในกรณีของเจมส์
เมดิสันอาจจะเข้าข่ายนี้ก็ได้ ! แต่ของพระพุทธเจ้าและเซอร์โทมัส มอร์คงไม่ใช่แน่ ดังนั้น
“enlightened” ในกรณีนี้มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับ “the Enlightenment”
V สรุป
ดังนั้น ถ้ากล่าวถึงในกรณีของ “ผู้ปกครอง” หรือ “กษัตริย์” ที่เป็น “enlightened ruler”
ก็ย่อมมีสองความหมาย ผู้ปกครองในยุคโบราณที่ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและทรงไว้ซึ่ง
จริยธรรมคุณธรรม เราก็สามารถเรียกเขาผู้นั้นว่าเป็น “enlightened ruler” ได้ แต่ผู้ปกครองที่
“enlightened” อาจจะไม่ได้เป็นผู้ปกครองที่ “enlightened” ในแบบ “the Enlightenment” ก็ได้
เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในตอนก่อนๆว่า ผู้ปกครองตามแบบ “the Enlightenment” จะต้องยึดถือ
เชื่อมั่นและให้ความสำคัญต่อคุณค่าของเสรีภาพ มีความเชื่อมั่นในหลักการแห่งมนุษยธรรม
(humanitarianism) อันหมายถึงความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจต่อมนุษย์ทุกคนอย่างสากลอย่าง
เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ เชื่อในคุณค่าความสำคัญของเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (individual
freedom) อันเป็นคุณค่าสูงสุดในวัฒนธรรมความคิดในแบบของขบวนการภูมิธรรม (the
Enlightenment) อีกทั้งในแง่ของภูมิปัญญาความรู้ ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ จะต้องคิดอย่างมีเหตุมีผล
ไม่เชื่อในเรื่องงมงาย หรือแม้กระทั่งจะต้องไม่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือลัทธิทางศาสนาของตน
จนไม่ยอมรับการตีความศาสนาหรือพระผู้เป็นเจ้าที่แตกต่างจากที่ตนเชื่อ
ขณะเดียวกัน คำว่า”despot” ในฐานะของผู้ปกครองก็มีความหมายในแง่ลบเสียจน
ไม่สามารถอยู่คู่กับคำว่า “enlightened” ตามแบบ “the Enlightenment” ได้ ตามที่ได้กล่าว
อธิบายไปแล้ว ด้วยเหตุนี้เองที่ ไครเกอร์จึงยืนยันว่าไม่เคยมีผู้ปกครองที่เป็น “enlightened
despot” ในประวัติศาสตร์ยุโรปในช่วงศตวรรษที่สิบแปด เพราะคำสองคำนี้มันขัดแย้งกันเกินกว่า
ที่จะประนีประนอมอยู่ด้วยกันได้ แต่เขาก็ยืนยันว่า ถ้าจะมีผู้ปกครองที่ “enlightened” ตามแบบ
“the Enlightenment” ก็คงมีแต่ผู้ปกครองที่อยู่ภายใต้ฉายา “Enlightened Absolutism” นั่นคือ
พระมหากษัตริย์ที่อยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ (Absolute Monarchy) แต่พระองค์ก็ “มิได้
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทำทุกอย่างตามเจตจำนงและอำเภอใจของเขา ไม่อยู่ภายใต้กรอบ
กฎหมายและกติกาใดๆ” และ “มิได้ทรงใช้อำนาจไปโดยมุ่งหวังเพื่อความพอใจหรือสะใจกับการใช้ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย