Page 160 - kpi15476
P. 160

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   159


                      พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตอบรับสาส์นจากประธานาธิบดี
                      สหรัฐอเมริกาว่า


                                          “แลซึ่งในแผ่นดินยุไนติศเตศอเมริกามีขนบธรรมเนียมตั้งไว้
                                    แลสืบมาแต่ครั้งปริไสเดนด์ยอมวัดชิงตัน ให้ราษฎรทั้งแผ่นดิน

                                    พร้อมใจกันเลือกสรรบุคคลที่ควรจัดไว้เป็นชั้น แล้วตั้งให้เป็นปริไสเดนด์
                                    ใหญ่แลปริไสเดนด์รอง ครอบครองแผ่นดินผู้ชี้ขาดว่าราชการ

                                    บ้านเมืองเป็นวารเป็นคราวมีกำหนดเพียง 4 ปีแล 8ปี แลให้
                                    ธรรม เนียมนี้ยั่งยืนอยู่ได้ ไม่มีการขัดขวางแก่งแย่งกัน ด้วยผู้นั้นๆ
                                    จะช่วงชิงอิสริยยศกันเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ดังเมืองอื่นๆซึ่งเป็นอยู่เนืองๆ นั้นได้

                                    ก็เห็นว่าเป็นการอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นขนบธรรมเนียมที่ควร
                                    จะสรรเสริญอยู่แล้ว”


                            แต่ประสบการณ์ของ “กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม” ในที่ต่างๆในโลกได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไป
                      ไม่ได้ที่จะมี “กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม” ที่สืบสานต่อเนื่องไปได้ทุกรัชสมัยฉันใด ความคาดหวังที่จะ

                      ให้มี “นักการเมืองหรือมหาชนผู้ทรงภูมิธรรม” อยู่ในทุกช่วงเวลาก็เป็นไปไม่ได้ฉันนั้น


                            ดังนั้น ในที่สุดแล้ว ระบอบการปกครองที่ดีอาจจะหมายถึง ระบอบที่ไม่จำเป็นต้องมี “ใคร
                      ไม่ว่าจะเป็น เอกบุคคล, คณะบุคคล, หรือ มหาชน” ที่ “ทรงภูมิธรรม” แต่ระบอบการปกครองที่
                      ดีที่ไม่จำเป็นต้องคาดหวังให้มีใครทรงภูมิธรรม คือระบอบการปกครองที่ไม่มีใครที่จะสามารถครอง

                      อำนาจสูงสุด (absolute power) ได้  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องถวิลหาให้ “ใคร
                      ไม่ว่าจะเป็น เอกบุคคล, คณะบุคคล, หรือ มหาชน” ต้อง “ทรงภูมิธรรม” อีกต่อไป และระบอบ

                      การปกครองที่ว่านี้ก็คือ ระบอบการปกครองแบบผสม (mixed constitution) ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไข
                      และวิสัยที่ผู้เขียนจะขยายความได้ในที่นี้
















                                                                                                                         เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165