Page 165 - kpi15476
P. 165

1 4     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                                 3.  จักรแก้วอันตรธาน ต่อมา จักรแก้วคู่พระบารมีของพระองค์อันเป็นของทิพย์
                                    มีกำ 1000 ซี่ มีกง 1000 อัน พร้อมทั้งดุม รูปลักษณ์สวยงามครบถ้วน

                                    ซึ่งเกิดมาด้วยอุณหภูมิมีบุญกรรมปรุงแต่ง เคลื่อนจากฐานที่ตั้ง พระองค์
                                    ทรงทราบแล้วว่าการเคลื่อนจากฐานที่ตั้งของจักรแก้วเป็นสิ่งบอกเหตุให้รู้ว่า
                                    พระองค์จะทรงมีพระชนมายุอยู่ไม่นาน พระองค์จึงเตรียมพร้อมด้วยการมอบ

                                    ราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสพระองค์โต จากนั้นจึงให้ช่างกัลบกปลงพระเกศา
                                    และพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าย้อมน้ำฝาดจนสีฝาด) ออกบวช

                                    เป็นฤๅษี ซึ่งเรียกตามคัมภีร์บาลีว่า “ราชิสิ” และตามคัมภีร์สันสกฤตว่า
                                    “ราชฤษิ” ไทยนิยมเรียกว่า “ราชฤๅษี” ซึ่งหมายถึง ฤๅษีผู้เคยเป็นพระราชา
                                    มาก่อน ครั้นทรงออกบวชได้ 7 วัน  จักรแก้วคู่บารมีของพระองค์ก็อันตรธาน

                                    หายไป

                                 4. การปรากฏใหม่ของจักรแก้วสำหรับพระราชาพระองค์ใหม่ที่ไม้ได้เป็นพระเจ้า
                                    จักรพรรดิ์มาแต่เกิด การปรากฏของจักรแก้วถือป็นนิมิตรหมายสำคัญแสดง

                                    ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์เช่นเดียวกับการอันตรธานของจักรแก้วก็ถือเป็น
                                    นิมิตรหมายสำคัญของการสิ้นสุดความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ดังนั้น เมื่อเกิด
                                    การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพระราชาพระองค์ใหม่ก็จะทรงเสียพระทัยและ

                                    แสวงหาคำแนะนำ พระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ์ทัฬหเนมิ
                                    ก็เช่นกันทรงเสียพระทัยต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเสด็จเข้าไปเฝ้า

                                    พระราชฤๅษีแล้วกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระราชฤๅษีตรัส
                                    ปลอบไม่ให้เสียพระทัยว่าจักรแก้วนั้นเป็นสมบัติคู่บารมีของพระราชบิดา และ
                                    ตรัสแนะนำให้ทรงประพฤติตามจักรพรรดิวัตรอันเป็นอริยะ(ทำให้ห่างไกลจาก

                                    กิเลส) พร้อมทั้งทรงรักษาอุโบสถทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เพื่อว่าผลบุญนั้นจักช่วย
                                    บันดาลให้จักรแก้วปรากฏ

                                    พระราชาพระองค์ใหม่ทรงประพฤติตามจักรพรรดิวัตรอันเป็นอริยะอย่าง
                                    เคร่งครัดคือ
                                    4.1  เบื้องต้นทรงเคารพธรรม ถือธรรมเป็นใหญ่ (ธรรมาธิปเตยฺย) ทรงดำรง

                                    อยู่ในธรรม
                                    4.2 จากนั้นทรงวางนโยบายในการบริหารแว่นแคว้นเน้นไปที่การจัดการรักษา

                                    ป้องกันและคุ้มครองโดยชอบธรรมให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆไปตามลำดับ
                                    เริ่มจากคนใกล้ชิดเป็นอันดับแรก จากนั้นทรงดูแลกองกำลัง(ทหาร)ให้เข้มแข็ง
                                    และมีความพร้อมที่จะรักษาความสงบและความมั่นคงของแคว้น ทรงดูแล
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ประชาชนของแคว้นตามศักยภาพเพื่อความเจริญและมั่งคั่งของแคว้น ทรงดูแล
                                    กษัตริย์ผู้เป็นบริวารที่เคยมาสวามิภักดิ์แต่ครั้งพระราชบิดาอย่างมีเกียรติ
                                    ทรงดูแลคนวรรณะพราหมณ์และและวรรณะคหบดีให้ทำหน้าที่ในฐานะ



                                    ชาวนิคมให้ทำอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการหารายได้เข้าแคว้น ทรงดูแล
                                    ชาวเมือง ทรงดูและสมณะและพราหมณ์ให้สามารถดำเนินชีวิตตามหลัก
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170