Page 159 - kpi15476
P. 159
15 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
อำนาจในตัวของมันเองด้วย” แม้ว่าตามรูปแบบการปกครองที่ดำรงอยู่ พระองค์จะสามารถใช้
อำนาจได้อย่างไม่จำกัดได้ก็ตาม
แต่พระองค์ทรงประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในแบบ “the Enlightenment” ในฐานะที่เป็นกรอบ
ทฤษฎีแห่งความรู้หรือญาณวิทยาและทฤษฎีแห่งคุณค่าหรือจริยธรรมคุณธรรมในการทำความ
เข้าใจและปรับใช้กับสภาพความเป็นจริงต่างๆ ในการเมืองสมัยใหม่
แต่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรมบางพระองค์ก็ยังมีข้อจำกัดในเงื่อนของเวลาอยู่ด้วย
พระองค์ยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นอื่นได้ นอกจากระบอบสมบูรณาญา-
สิทธิราชย์ ที่อาจจะมีความเข้มข้นในการใช้สมบูรณาญาสิทธิ์น้อยลงไปเท่านั้นภายใต้กรอบแนว
พระราชดำริในแบบ “ภูมิธรรม” (the Enlightenment)
อย่างไรก็ตาม หากเมื่อคราวที่มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น
“พระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม” พระองค์ก็ทรงพร้อมที่ในการรับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
อย่างเข้าใจและราบรื่นกว่าพระมหากษัตริย์ที่ปราศจากซึ่งภูมิธรรม เพราะพระราชดำริที่
“ทรงภูมิธรรม” (the Enlightenment) ย่อมสอดคล้องต้องกันกับแนวการปกครองที่จะอยู่ภายใต้
หลักการแห่งมนุษยธรรม สิทธิเสรีภาพอันเสมอกันของปัจเจกบุคคลอยู่แล้ว
แต่แน่นอนอีกเช่นกันว่า หากการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นมิได้นำไปสู่หลักการดังกล่าว
ก็ย่อมยากที่ “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม” จะยอมจำนนนิ่งเฉยในสถานะขององค์พระมหา
กษัตริย์ต่อไปได้ เพราะตามแนวพระราชดำริสำคัญของพระเจ้าเฟดริคมหาราชแห่งปรัสเซีย
พระมหากษัตริย์ยุโรปพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “enlightened despot” และได้กลาย
เป็นต้นแบบให้กับพระมหากษัตริย์ต่อๆมาในยุโรป ทรงถือว่า สิ่งแรกที่พระมหากษัตริย์จะต้องเป็น
ก็คือ เป็นผู้รับใช้ชาติก่อนคนอื่นๆ
สุดท้าย ผู้เขียนขอใคร่ชวนให้พิจารณาต่อไปข้างหน้า โดยขอกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
จากบริบทปัจจุบันที่อำนาจอยู่ในมือมหาชน หรือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กระแสนิยมผู้นำ
ทางการเมืองที่เป็น “เอกบุคคล” ของมหาชนลดน้อยถดถอยลงไม่ มหาชนสามารถที่จะนิยม
ยกย่อง “เอกบุคคล” ที่เป็นผู้นำทางการเมืองในปัจจุบันได้มากเท่าหรือมากกว่าที่เคยนิยมยกย่อง
“เอกบุคคล” ที่เป็นพระมหากษัตริย์ในอดีตเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น ความนิยมยกย่องหรือไม่นิยม
ยกย่องผู้มีอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันจึงมิได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการที่ผู้มีอำนาจทางการเมือง
มิได้เป็น “เอกบุคคล” เท่ากับว่า “เอกบุคคล” ผู้มีอำนาจทางการเมืองนั้นตอบสนองความต้องการ
อันไม่มีขอบเขตและขีดจำกัดของประชาชน และยังสามารถอ้างอิงแหล่งที่มาของอำนาจทาง
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย เป็น “Absolutism” อย่างหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นที่เราควรใส่ใจถวิลหาก็คือ “Enlightened citizens/
การเมืองของตนจากประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้งหรือเป็นที่ยอมรับยกย่องจากประชาชนได้ก็
ด้วยเงื่อนไขที่ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชน
ปัจจุบัน ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย หรืออธิปไตยปวงประชามหาชนได้กลาย
people” พร้อมกันไปกับ “Enlightened Politicians” เพื่อนำไปสู่ความอัศจรรย์ตามความใน