Page 164 - kpi15476
P. 164
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 1 3
1. ในฐานะเป็นคำขยายความของพระเจ้าจักรพรรดิ์
มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง เช่น ในจักกวัตติสูตรและในลักขณสูตรซึ่ง
กล่าวถึงลักษณะของความเป็นพระจักรพรรดิ์ไว้เหมือนกันว่า “...จกฺกวตฺติ ธมฺมิโก ธมฺมราชา
จาตุรนฺโต วิชิตาวี ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺโต สตฺตรตนสมนฺนาคโต - ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา ครองทวีปทั้ง 4 มีมหาสมุทรเป็นที่สุด ทรงชนะอย่างเด็ดขาด
ทำให้ชนบท (ชุมชน) มีความมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ (สิ่งที่ทำให้เกิดความยินดี)
7 ประการ”
1
ในข้อความที่ยกมานี้มีคำขยายความที่บอกลักษณะความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ไว้ คือ
1. แสดงความมีธรรม พบได้ในคำว่า ธมฺมิโก (ประกอบด้วยธรรม) และ ธมฺมราชา
(ธรรมราชา- พระราชาโดยธรรมหรือพระราราชแห่งธรรม)
2. แสดงความมีอำนาจปกครอง พบได้ในคำ จาตุรนฺโต (ครองทวีปทั้ง 4
มีมหาสมุทรเป็นที่สุด) และวิชิตาวี (ทรงชนะอย่างเด็ดขาด)
3. แสดงการบริหารจัดการการปกครองโดยธรรม พบได้ในคำ
ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺโต (ทำให้ชนบท (ชุมชน) มีความมั่นคง)
4. แสดงความพร้อมด้านมนุษยสมบัติที่ประกอบด้วยพระอิสริยยศ เกียรติยศและ
บริวารยศ พบได้ในคำว่า สตฺตรตนสมนฺนาคโต (พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ คือสิ่งที่
ทำให้เกิดความยินดี 7 ประการ)
ในจักกวัตติสูตรมีรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์มากกว่าแหล่งอื่น
ผู้เขียนจึงขอใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาเพราะจะทำให้เห็นภาพของคำที่ใช้ขยายความทั้งหมดที่กล่าว
มานั้นได้ชัดเจน
ในจักกวัตติสูตรนั้น มีกล่าวถึงเรื่องของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า “ทัฬหเนมิ”
ซึ่งนอกจากมีลักษณะร่วมของความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ดังกล่าวมาแล้วก็ยังมีลักษณะร่วมอื่นๆ
ที่พบว่าพระเจ้าจักรพรรดิ์ทุกพระองค์ต้องมีคือ
1. การมีพระราชโอรส พระองค์ทรงมีพระราชโอรสมากกว่า 1,000 พระองค์
แต่ละพระองค์ล้วนกล้าหาญ มีพระวรกายองอาจ สามารถย่ำยีกองทัพของ
ปรปักษ์ได้ และในที่สุดพระราชโอรสพระองค์โตก็ได้มารับใช้พระเจ้าจักรพรรดิ์
ในฐานะปริณายกแก้ว
2. การได้แผ่นดิน พระองค์ทรงครอบแผ่นดินนี้โดยทรงเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด
โดยธรรมไม่ต้องใช้ท่อนไม้ทุบตีไม่ต้องใช้ศัสตรา
1 ที.ปาฏิ. 11/ 80, 198 / 49, 123. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย