Page 169 - kpi15476
P. 169

1       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                                    ศรีอารยไมเตรยะ หรือ ศรียอารยเมตไตรย)  ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์
                                                                               2
                                    ต่อไป


                         2.  ในฐานะเป็นคำขยายของพระราชาที่ไม่ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์


                           พบได้ในมฆเทวสูตร ดังข้อความว่า ...อานนฺท อิมิสฺสาเยว มิถิลายํ ราชา อโหสิ
                  มฆเทโว นาม ธมฺมิโก ธมฺมราชา ธมฺเม ฐิโต มหาราชา... – (พระพุทธเจ้าตรัสว่า) อานนท์

                  ในเมืองมิถิลานี้เอง ได้เคยมีพระราชาพระนามว่า มฆเทวะ ทรงประกอบด้วยธรรม เป็น
                  ธรรมราชา ดำรงธรรม เป็นมหาราช
                                                   3

                           พระราชาพระองค์นี้มิได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ แต่ก็เป็นธรรมราชาเหมือนพระเจ้า
                  จักรพรรดิ์และเสด็จออกบวชในบั้นปลายพระชนมชีพเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ์ด้วยเช่นกัน

                  กล่าวคือ พระองค์ปกครองพราหมณ์และคหบดีชาวนิคมและชาวแว่นแคว้นโดยธรรม ทรงเข้า
                  จำอุโบสถวัน 14 ค่ำ วัน 15 ค่ำ และวัน 8 ค่ำ ต่อมาเมื่อทราบว่าพระเกศาบนพระเศียรหงอกก็
                  สละราชสมบัติให้พระราชโอรสพระองค์โตแล้วตรัสอบรมให้รักษาธรรมเนียมที่ดีงามของราชวงศ์

                  แล้วเสด็จออกบวช ครั้นบวชแล้วก็ทรงเจริญพรหมวิหารธรรมจนได้บรรลุฌานแล้วแผ่เมตตา (แผ่
                  ความรักไม่จำกัด)ไปยังสรรพสัตว์ผู้มีความสุข แผ่กรุณา (แผ่ความสงสารไม่จำกัด) ไปยังสรรพ

                  สัตว์ผู้ประสบทุกข์ แผ่มุทิตา (แผ่ความยินดีด้วยไม่จำกัด)ไปยังสรรพสัตว์ที่มีความสุขยิ่งขึ้นหรือ
                  สรรพสัตว์ที่พ้นจากทุกข์แล้ว และแผ่อุเบกขา (แผ่ความมีใจเป็นกลางไม่จำกัด) ไปยังสรรพสัตว์
                  ดำรงเมตตากรุณาและมุทิตาให้สมดุลย์ ไม่เมตตากรุณาและมุทิตาจนเสียความเป็นกลางโดยเข้า

                  พระทัยว่าสัตว์ทั้งหลายล้วนมีกรรมเป็นสมบัติติดตัว ในยุคของพระเจ้ามฆะผู้คนมีอายุยืนคือ
                  ยาวนานถึง 84,000 ปีและมีพระราชาสืบสายมายาวนานถึง 84,000 พระองค์


                           ผู้เขียนพบว่าสูตรนี้แสดงลักษณะความเป็นพระธรรมราชาไว้จนกระทั่งสามารถถือ

                  ได้ว่าน่าจะเป็น “ลักษณะร่วม” ของพระราชาผู้ทรงธรรม คือ

                                 1.  ทรงดูแลจัดการคุ้มครองด้วยการรักษาและการป้องกันที่ชอบธรรมแก่

                                    ประชาชนในแคว้นทุกระดับชั้น แม้จะไม่พบข้อความใดที่ระบุถึงการจัดการ
                                    คุ้มครองเช่นนั้นไว้ แต่ก็สันนิษฐานว่าทรงทำอย่างนั้นจากข้อความว่า “ทรง
                                    ประพฤติธรรม”


                                 2.  ทรงรักษาอุโบสถซึ่งก็หมายความว่าทรงรักษาศีล 8 ทุกวัน 15 ค่ำ 14 ค่ำ
                                    และ 8 ค่ำ

                                 3. ทรงออกบวชหลังจากทรงเห็นพระเกศาบนพระเศียรหงอก
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย     ภาษาไทย เขียนหลายรูป เช่น พระศรีอารยเมตไตรย, พระศรีอารยเมตตรัย, หรือบางทีพูดสั้นๆ ว่า พระศรีอารย์.






                        ภาษาบาลีเป็น อริยเมตฺเตยฺย (อริโย เมตฺเตยฺโย – พบใน มิลินทฺปญฺโห) ภาษาสันสกฤตเป็น ศฺรีอารยไมเตรฺย
                     2


                        ม.ม. 13 / 308 / 288.
                     3
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174