Page 170 - kpi15476
P. 170

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   1 9


                                ลักษณะร่วมนี้สะท้อนถึงวิถีชีวิตของพระราชาในสังคมอินเดียโบราณ ผู้เขียนเห็นว่า
                      น่าจะสะท้อนถึงวิถีชีวิตของพระราชาหรือนักปกครองที่ทรงธรรมในแคว้นอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะ

                      ในข้อ 1. ผูกพันกับผู้อื่นซึ่งก็คือประชาชนผู้ถูกปกครอง แน่นอนว่าจริยาวัตรหรือพฤติกรรมของ
                      ผู้ปกครองย่อมมีผลกระทบถึงสุขทุกข์ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนในข้อ 2. แม้จะเป็น
                      จริยาวัตรส่วนพระองค์ แต่ในทางปฏิบัติก็สนับสนุนข้อ 1. เพราะศีลอุโบสถก็พัฒนามาจากศีล 5

                      ต่างแต่ว่าในศีลอุโบสถข้อที่ 3 พัฒนาจากการงดจากการประพฤติผิดในกามมาเป็นงดจากมีเพศ
                      สัมพันธ์อย่างเด็ดขาด ส่วนข้อ 6 งดการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (ตั้งแต่หลังเที่ยงวัน) ข้อ 7

                      งดการดูการฟ้อนรำขับร้องที่เป็นข้าศึกแก่การประพฤติพรหมจรรย์งดการทัดทรงพวงดอกไม้งด
                      การลูบไล้ของหอมเพื่อความสวยงาม และข้อ 8 งดการนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่อันแสดง
                      ความโอ่อ่าเกื้อกูลต่อการเกิดกามราคะอันเป็นทางให้เสียพรหมจรรย์ได้ มีการบัญญัติให้ถือปฏิบัติ

                      ก็เพื่อสนับสนุนชีวิตพรหมจรรย์ การที่นักปกครองต้องถือศีลพรหมจรรย์นอกจากเพื่อต้องการ
                      สวรรค์นิพพานในภายภาคหน้าแล้ว หากมองในชีวิตปัจจุบันก็เพื่อฝึกหัดควบคุมตนในการบริโภค

                      กามที่แวดล้อมและหาได้ง่ายคือรูปเสียงกลิ่นรสและสิ่งสัมผัสทางกายที่น่าปรารถนา โดยเฉพาะ
                      การงดอาหารในเวลาวิกาลอาจจะสนับสนุนให้เกิดเมตตาและกรุณาต่อผู้ทุกข์ยากได้ เป็นทางนำไป
                      สู่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน สำหรับข้อ 3 การออกบวชในบั้นปลายพระชนมชีพดูจะ

                      เป็นวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือกันมานานของสังคมอินเดียโบราณ ผู้วิจัยเห็นว่า
                      อาจจะเป็นต้นเค้าให้บัญญัติอาศรม (ขั้นตอนการดำเนินชีวิต) 1 ในอาศรม 4 คือ สันยาสี
                                                                                                               4
                      ซึ่งแปลว่า ผู้สละกาม หรือ ผู้สละโลก โดยการออกจากเรือนไปสู่ความไม่มีเรือน  ซึ่งก็หมายถึง
                                                                                                  5
                      การออกบวช นั่นเอง


                              3.  ในฐานะเป็นคำขยายพระคุณของพระพุทธเจ้า


                                พบได้ในธัมมราชสูตร จากข้อความว่า “...ภิกฺขุ ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
                      ธมฺมิโก ธมฺมราชา ธมฺมญฺเญว นิสฺสาย ธมฺมํ สกฺกโรนฺโต ธมฺมํ ครุกโรนฺโต ธมฺมํ อปจายมาโน
                      ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ ธมฺมาธิปเตยฺโย ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ สํวิทหติ ภิกฺขูสุ...ภิกฺขุนีสุ...อุปาสเกสุ

                      ...อุปาสิกาสุ “เอวรูปํ กายกมฺมํ เสวิตพฺพํ, เอวรูปํ กายกมฺมํ น เสวิตพฺพํ, เอวรูปํ วจีกมฺมํ เสวิ
                      ตพฺพํ, เอวรูปํ วจีกมฺมํ น เสวิตพฺพํ, เอวรูปํ มโนกมฺมํ เสวิตพฺพํ, เอวรูปํ มโนกมฺมํ น เสวิตพฺพํ,

                      เอวรูโป อาชีโว เสวิตพฺโพ, เอวรูโป อาชีโว น เสวิตพฺโพ, เอวรูโป คามนิคโม เสวิตพฺโพ, เอวรูโป
                      คามนิคโม น เสวิตพฺโพ ” - (พระพุทธเจ้าตรัสว่า) “ภิกษุ! พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      ทรงประกอบด้วยธรรม ทรงเป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรม สักการะธรรม เคารพธรรม

                      นอบน้อมธรรม ถือธรรมเป็นธงชัย ถือธรรมเป็นที่พึ่ง ถือธรรมเป็นใหญ่ ทรงทำการคุ้มครองด้วย
                      การรักษาและการป้องกันให้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยทรงแนะนำว่า “พฤติกรรม

                      ทางกายอย่างนี้ทำได้ อย่างนี้ทำไม่ได้, การพูดอย่างนี้พูดได้ อย่างนี้พูดไม่ได้, ความคิดอย่างนี้
                      คิดได้ ความคิดอย่างนี้คิดไม่ได้, การดำเนินชีวิตอย่างนี้ทำได้ อย่างนี้ทำไม่ได้”





                          4   มาจากคำบาลีว่า สนฺนฺยาสี ตรงกับคำสันสกฤตว่า สนฺนฺยาสินฺ.                                   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                         5   แปลมาจากภาษาบาลีว่า อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต.
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175