Page 178 - kpi15476
P. 178
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 1
อิสริยยศด้านการบริหารการปกครองจากพระบรมเชษฐาธิราชมาตามลำดับตั้งแต่เป็นสมเด็จ
พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาจนกระทั่งถึงเป็นพระราชาหรือพระมหา
กษัตริย์ก็เพราะธรรมโดยแท้ ธรรมที่ทำให้พระองค์ได้เป็นก็คือพระวิริยะอุตสาหะพระสติปัญญาที่
สามารถรับราชการสำคัญสนองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณพระบรมเชษฐาธิราชได้
เป็นอย่างดี
พระราชาแห่งธรรม : โดยที่ทรงได้รับการมอบธรรมคือพระราชอำนาจในการเสด็จ
เถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงเท่ากับว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเจ้าของแห่ง
พระราชอำนาจและทรงเป็นใหญ่ในการใช้พระราชอำนาจ และยังทรงเป็นเจ้าของและเป็นใหญ่
ในราชสมบัติอันประกอบด้วยประเทศชาติประชาชนและสรรพสิ่งในประเทศชาติด้วย จึงต่อมา
เมื่อพ้นจากการเป็นพระมหากษัตริย์ก็ด้วยการที่ทรงสละทั้งพระราชอำนาจและราชสมบัติซึ่งเป็น
ของพระองค์เองตามลำดับ
การสละพระราชอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละพระราชอำนาจก่อน
เป็นอันดับแรกด้วยการทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศใช้เป็นกฏหมายสูงสุด
ในการปกครองประเทศเมื่อ พ.ศ. 2475 มีกล่าวว่า พระองค์ทรงโทมนัสพระทัย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า
เป็นธรรมดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้แก่ปุถุชนทั่วไปที่ต้องมาพลัดพรากจากสิ่งที่รักและประสบกับสิ่งไม่เป็น
ที่รัก แต่ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะมีเหตุให้โทมนัสพระทัยมากกว่า
นั้น เพราะมีข้อมูลประจักษ์ชัดว่า พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช
2475 แล้วและพร้อมจะพระราชทานให้ประกาศใช้ แต่ถูกเจ้านายผู้เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ท้วงไว้
จึงยังไม่ทันพระราชทานซึ่งก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยคณะราษฎร์ การที่ทรงถูกปฏิวัตินี้เองที่น่าจะ
เป็นเหตุให้โทมนัสพระทัย เพราะทำให้ถูกมองได้ว่าทรงหวงพระราชอำนาจ แต่ความจริงทรงพร้อม
ที่จะพระราชทานอยู่แล้ว การที่ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญนั้นคือการพร้อมสละพระราช
อำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้กระจายไปเป็นอำนาจทั้ง 3 คือ อำนาจการบริหารโดยผ่านทาง
คณะรัฐบาลซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดในการใช้พระราชอำนาจ อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่าน
ทางรัฐสภาซึ่งมีประธานรัฐสภาเป็นผู้นำสูงสุดในการใช้พระราชอำนาจ และอำนาจตุลาการโดย
ผ่านทางศาลสถิตยุติธรรมซี่งมีประธานศาลเป็นผู้นำสูงสุดในการใช้พระราชอำนาจ พระองค์จึงเป็น
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่การใช้พระราชอำนาจถูกกำหนดไว้ให้อยู่ในกรอบของ
รัฐธรรมนูญ หรือที่มักเรียกกันแบบสามัญว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ
การสละราชสมบัติ เป็นการสละครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงบริหารประเทศในส่วนที่
รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้เป็นพระราชอำนาจผ่านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยทรงแต่งตั้ง
สมเด็จพระเจ้าปรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 21
ในระหว่างนี้พระองค์ยังทรงติดต่อราชการกับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งยังคง
ปรากฏข้อขัดแย้งต่างๆ ที่ไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ
21 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช 2476. เล่ม 50, ตอน เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
0 ก, 11 มกราคม พ.ศ. 2476, หน้า 838.