Page 176 - kpi15476
P. 176
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 1 5
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์กับพระธรรมราชาที่เป็นพระพุทธเจ้าไว้ในธรรมราชสูตรไว้อย่างน่าสนใจ
การทำหน้าที่ดังกล่าวก็คือการคุ้มครองคือการรักษาและการป้องกันผู้ที่พระธรรมราชาทั้งสองฝ่าย
17
รับผิดชอบ
ส่วนความหมายที่ว่า ราชาแห่งธรรม แม้จะยังไม่แน่ใจว่าเคยมีการอธิบายเชิงไวยากรณ์
ภาษาบาลี-สันสกฤตไว้หรือไม่ แต่ผู้เขียนเห็นว่า เป็นความหมายที่น่าสนใจ เพราะสะท้อนถึง
ความเป็น ธรรมิสร และ ธรรมสามี ที่จะกล่าวถึงต่อไป
การเป็นราชาแห่งธรรม หากนำไปเชื่อมกับความหมายว่า การเป็นราชาโดยธรรม ก็หมาย
ถึงว่าทรงเป็นราชา ได้แก่ ทรงเป็นใหญ่และเป็นเจ้าของแห่งความดีความถูกต้องหรือความยุติธรรม
ได้ด้วยเช่นกัน พระราชาทรงเคารพธรรมทรงปฏิบัติตามธรรมจนกระทั่งธรรมทำให้พระองค์เป็น
พระราชา และเมื่อธรรมสถิตอยู่ในพระทัยของพระองค์จนกระทั่งพระทัยของพระองค์มีธรรม
พระองค์จึงเป็นใหญ่และเป็นเจ้าของแห่งธรรมเพราะธรรมเป็นคุณสมบัติประดับพระทัยของ
พระองค์ที่พระองค์สามารถน้อมนำมาใช้ในการปกครองให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและยังให้
แก่ประชาชนเพื่อพวกเขาจะได้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมเพื่อประโยชน์สุขในการอยู่ร่วมกัน
ตามเรื่องที่ยกมาข้างต้นนั้นจะเห็นว่า ความเป็นพระธรรมราชาในความหมายที่ว่าเป็นพระราชา
แห่งธรรมปรากฏชัดอยู่แล้วด้วยในเนื้อหา
สำหรับพระพุทธเจ้าทรงได้รับการยกย่องอยู่แล้วว่าเป็นธรรมิสร (ธมฺมิสฺสโร) – ผู้เป็นใหญ่
แห่งธรรม และธรรมสามี (ธมฺมสามี) – ผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม คู่กับความเป็นพระธรรมราชา
ดังนั้นในฐานะทรงเป็นพระราชาโดยธรรมเหมือนอย่างพระธรรมราชาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์และ
ไม่ใช่จักรพรรดิ์อยู่แล้ว จึงทรงเป็นใหญ่และเป็นเจ้าของแห่งธรรมไปด้วยโดยปริยยาย
เมื่อกล่าวถึงความเป็นพระราชาแห่งธรรม ผู้เขียนยังคิดไปถึงความหมายของธรรมอีก
ข้อหนึ่งคือ คำสอน คำสั่ง กฏระเบียบ ซึ่งทางอาณาจักรอาจเรียกว่า ราชอาณาหรือกฏหมาย
เพราะออกโดยพระราชา ส่วนทางพุทธจักรเรียกว่า พุทธอาณาหรือพระวินัย เพราะออกโดย
พระพุทธเจ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมให้สมาชิกได้อยู่ร่วมกันได้ในสังคม การออกราชอาณา
และพุทธอาณาได้ของพระธรรมราชาฝ่ายอาณาจักรกับพระธรรมราชาฝ่ายพุทธจักรสนับสนุนถึง
ความเป็นใหญ่และเป็นเจ้าของแห่งธรรมของพระองค์โดยแท้ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถามีกล่าวถึงว่า
คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธอาณาห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ (การแสดงฤทธิ์)
พระเจ้าพิมพิสารสาวกคฤหัสถ์คนสำคัญเห็นว่าอาจเป็นทางให้เกิดอุปสัคในการเผยแพร่พระพุทธ
ศาสนาได้ เพราะเมื่อพระพุทธเจ้าห้ามพระสาวกก็เท่ากับห้ามพระพุทธเจ้าเองด้วย จะทำให้
พระพุทธศาสนาเสียเปรียบ จึงเสด็จไปเฝ้าและทูลถามถึงเหตุผลที่ทรงบัญญัติ พระพุทธเจ้า
ตรัสตอบว่า ทรงบัญญัติห้ามพระสาวกเท่านั้นไม่ได้ห้ามพระองค์เอง จากนั้นจึงตรัสอธิบายให้
พระเจ้าพิมพิสารเข้าพระทัยโดยย้อนถามถึงเหตุผลในเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารออกคำสั่งห้ามคน
เข้าเก็บมะม่วงในพระราชอุทยานส่วนพระองค์แต่ทำไมพระองค์เองสามารถเข้าเก็บเสวยได้ เมื่อ
พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่าเพราะพระราชอุทยานนั้นเป็นสมบัติของพระองค์พระองค์ทรงมีอำนาจ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
17 องฺ.ปญฺจก. 22 / 133 / 140.