Page 179 - kpi15476
P. 179

1       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  รัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งโดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
                  ประธานสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมกับหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

                  (ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์) และนายดิเรก  ชัยนาม เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ และไกล่เกลี่ยเพื่อ
                                                                            22
                  กราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศไทย แต่การเจรจาไม่สำเร็จ  พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละ
                  ราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 และทรงมอบอำนาจให้แก่พสกนิกรของพระองค์

                  ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ
                  ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้

                  แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของ
                  ราษฎร”




                  บทสรุป



                       ธรรมราชา ที่พบในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเรียกพระราชาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์และไม่ได้

                  เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์แต่ทรงธรรม และแปลได้ว่า พระราชาโดยธรรมหรือพระราชาแห่งธรรม
                  นอกจากใช้เป็นพระพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ดังกล่าวมาแล้ว ผู้เขียน
                  ยังเห็นว่าสามารถใช้กับพระมหากษัตริย์ไทยได้ทุกพระองค์ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อ

                  ประโยชน์สุขของพสกนิกรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

                       ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีคำกล่าวว่า พระราชอำนาจของพระธรรมราชาที่มีการกระจายไปใช้

                  ไปเป็น 3 อำนาจในระบบการปกครองประชาธิปไตย คือ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และ
                  อำนาจนิติบัญญัติ ยังไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวไทยอย่างแท้จริง คำกล่าวนี้อาจ

                  ผิดบ้างถูกบ้าง ไม่ใช่เรื่องที่จะตำหนิกันให้เกิดความร้าวฉานในสังคมไทยอีกต่อไป หากแต่เป็นเรื่อง
                  ที่คนไทยต้องมาศึกษาและหาทางออกร่วมกันให้ว่า จะทำอย่างไร การใช้พระราชอำนาจที่
                  พระราชทานมานั้นจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่มหาชนชาวไทยตามพระราชประสงค์


                       พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นแต่เอกสารสำคัญ

                  ในประวัติศาสตร์เท่านั้น หากแต่ยังเป็นเอกสารสะท้อนความในพระราชหฤทัยของพระธรรมราชา
                  ไทยพระองค์หนึ่งที่ระบุชัดเจนว่า พระองค์ทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจอันเป็นของ

                  พระองค์แก่แก่ราษฎรทุกคน แต่ไม่ทรงยินยอมให้ผู้ใดหรือคณะใดใช้พระราชอำนาจของพระองค์
                  โดยไม่ฟังเสียงประชาชน


                       ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าผู้ที่มีโอกาสได้ใช้พระราชอำนาจจะมีสักกี่คนที่เข้าใจความในพระราชหฤทัยนี้
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   รากฐานมาจากธรรมราชาโดยแท้.
                  ได้อย่างลึกซึ้ง ทั้งๆ ที่ความในพระราชหฤทัยนี้ คือ หัวใจของการเป็นประชาธิปไตยแบบไทยซึ่งมี










                    22
                       สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, หน้า 214.
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184