Page 174 - kpi15476
P. 174

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   1 3


                      (คุณ) 8) เหตุให้เกิด (เหตุ) 9) สิ่งที่เกิดโดยเป็นปัจจัยของกันและกันคือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้
                      เกิด สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ฯลฯ (ปจฺจยุปปนฺนธมฺม) 10) สิ่งที่ถูกจิตหรือวิญญาณรับรู้

                      (อารมฺมณ) 11) สิ่งของ (ภณฺฑ) 12) สมาธิ 13) นิพพาน และ 14) หน้าที่     11

                            บรรดาความหมายที่ยกมาเสนอนี้ คงมีความหมายที่เราไม่คุ้นเคยอยู่ด้วยหลายความหมาย

                      แต่เพื่อให้เข้าใจง่าย ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสจัดกลุ่มความหมายใหม่คือ 1. ความหมายเชิง
                      พฤติกรรม ได้แก่ หน้าที่ ความดี ความถูกต้อง/เหมาะสม 2. ความหมายเชิงสัจจธรรม ได้แก่

                      ภาวะที่แท้จริง ความจริง/สิ่งที่มีอยู่จริง สมาธิ นิพพาน 3. ความหมายเชิงวัตถุ ได้แก่ สิ่งที่ต้อง
                      เรียนรู้ สิ่งของ 4. ความหมายเชิงเป็นเหตุ ได้แก่ เหตุให้เกิด สิ่งที่เกิดโดยเป็นปัจจัยของกัน
                      และกัน


                            ในการเขียนบทความนี้ ความหมายเชิงพฤติกรรมดูจะเป็นความหมายหลักในการอธิบาย

                      ความของธรรมราชา ได้ชัดเจน ผู้เขียนจึงขอใช้ความหมายกลุ่มนี้อธิบาย

                            ส่วน ราชา เป็นคำไทยที่ยืมมาจากคำ ราชา (คำเดิมคือ ราช) ในภาษาบาลี และคำ ราชา

                                                                                                           12
                      (คำเดิมคือ ราชนฺ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า รชฺ แปลว่า รัก ย้อม ติด  ใน
                      วรรณคดีบาลี-สันสกฤตใช้เรียกชนชั้นวรรณะกษัตริย์ที่ได้รับมุรธาภิเษกให้เป็นผู้นำในการปกครอง

                      แคว้น (รฏฺฐ-ราษฺฏฺร) หรือกลุ่มชน (กุล) ในอัคคัญญสูตร (สูตรที่กล่าวถึงสิ่งแรกของโลก) พบว่า
                      ราชา ใช้คู่กับ มหาสมมต (มหาสมฺมต) และขัตติยะ (ขตฺติย)  ซึ่งแต่ละคำมีความหมายเชิง
                                                                                  13
                      พฤติกรรมที่น่าสนใจ


                            อย่างที่กล่าวไว้ในอัคคัญญสูตรสรุปความได้ว่า ในช่วงแรกๆ ที่มีสังคมมนุษย์ มนุษย์ต่างถือ

                      กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์พยากรธรรมชาติเช่นพืชผัก ต่อมาเกิดแย่งชิงทะเลาะวิวาทและฆ่ากัน
                      ทำให้กต้องการผู้ตัดสิน ซึ่งกำหนดคุณสมบัติไว้ คือ ฉลาด มีบุคลิกดี สามารถตำหนิผู้ที่ควร

                      ตำหนิได้ สามารถเนรเทศผู้ที่ควรถูกเนรเทศ และพวกเขาจักแบ่งข้าวสาลีให้เป็นค่าตอบแทน
                      พวกเขาคัดเลือกกันเอง ในที่สุดก็ได้บุรุษรูปงามคนหนึ่งแล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งเป็นผู้นำเรียกว่า
                      “มหาสมมต” แปลว่า “ผู้ที่มหาชน(คนจำนวนมาก)ยอมรับ” ท่านมหาสมมตได้ทำหน้าที่ตัดสินคดี

                      ความตามที่มหาชนมอบให้อย่างยุติธรรม มหาชนต่างพอใจจึงแบ่งข้าวสาลีเป็นค่าตอบแทนการ
                      ตัดสินคดีความและเรียกท่านผู้นั้นว่า “ขัตติยะ”  แปลว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งไร่นา”  ท่านมหาสมมต
                                                                 14
                                                                                               15
                      ซึ่งบัดนี้ได้นามเพิ่มอีกว่าขัตติยะได้ทำหน้าที่อย่างดีทำให้มหาชนชื่นชมยินดีจึงทำให้ได้นามเพิ่มอีก
                      ว่า “ราชา” แปลว่า “ผู้ทำให้มหาชนยินดี” บุรุษรูปงามคนนี้พระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวว่าเป็นใคร



                         11   เรื่องเดียวกัน, หน้า 12 - 13.

                         12   รากศีพท์นี้ยังแผลงรูปไปเห็น ราค ซึ่งแปลว่า ความรัก การย้อม ใช้หมายถึง กิเลส
                         13   ที.มหา. 10 / 131 / 80.
                         14   ตรงกับคำสันสกฤตว่า กฺษตฺริย ไทยเป็น กษัตริย์.

                         15   น่าจะเป็นมนุษย์คนแรกในโลกที่ทำราชการ หลวงพ่อพุทธทาสเคยอธิบายว่า งานราชการคืองานที่ทำให้คนทั้ง  เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      หลายพอใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเคยมีพระกระแสรับสั่งกับผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท
                      ถึงการทรงงานของพระองค์ว่า ฉันทำราชการ (บทสัมภาษณ์ ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล)
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179