Page 173 - kpi15476
P. 173

1 2     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                         ในข้อความนี้ มี พระผู้มีพระภาค (ภควา) เป็นคำหลัก ส่วนคำขยายนอกจาก
                  ธรรมราชา แล้วก็ยังมี ธรรมิสร ธรรมสามี และตถาคต เป็นคำขยายร่วม ในการสร้างคำขยาย

                  มีข้อน่าศึกษา คือ ธรรมราชา กับ ธรรมสามี เท่าทีพบไม่เคยใช้คู่กันเลยในพระไตรปิฎก พบแต่
                  ธรรมสามี ใช้คู่กับ ตถาคโต จึงถือเป็นการสร้างคำขยายแบบแตกต่างจากพระไตรปิฎกด้วยการนำ
                  คำสำคัญที่เป็นคำขยายพระคุณของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกมาวางไว้ด้วยกัน และยังเพิ่ม

                  ธรรมิสร มาเป็นคำขยายอีกด้วย



                  ราชาโดยธรรม หรือราชาแห่งธรรม?




                       ได้เสนอที่มาของ ธรรมราชา ไว้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ทำความกระจ่างกับคำแปลว่าน่าจะเป็น
                  ราชาโดยธรรม หรือ ราชาแห่งธรรม ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อทำความกระจ่าง

                  กับความหมายของคำนี้ได้แล้ว ก็จะช่วยให้ทำความเข้าใจถึงคำ ธรรมสามี และ ธรรมิสรได้ง่ายขึ้น

                       ลำพังการแปลคำ ธรรมราชา ว่า ราชาโดยธรรม หรือ ราชาแห่งธรรม เป็นที่เข้าใจได้ในทาง

                  ไวยากรณ์ภาษาและในทางปฏิบัติที่ดูได้จากบริบทในสูตรแต่ละสูตรหรือในที่มาแต่ละแห่ง แต่
                  ผู้เขียนเห็นว่าน่าเสียดาย หากเราทิ้งการทำความเข้าใจให้กว้างขวางเกี่ยวกับคำว่า ธรรม กับ ราชา


                       ธรรม เป็นคำไทยที่ยืมมาจากคำว่า ธรฺม ในภาษาสันสกฤต ซึ่งตรงกับคำว่า ธมฺม ในภาษา

                  บาลี ทั้ง 2 คำแม้จะมีรากศัพท์ที่ต่างรูปกัน คือ ธรฺม มาจาก ธฤ ส่วน ธมฺม มาจาก ธรฺ ลงปัจจัย
                  ม หรือ รมฺม อย่างเดียวกัน แต่ก็มีความหมายเหมือนกันว่า ทรงไว้ ดำรงไว้ คงอยู่ หรือ
                  มีอยู่ ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงมีความหมายว่า สิ่งที่มีอยู่ หรือ สิ่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งรากศัพท์นี้น่าจะเป็น

                  ที่มาของคำว่า truth (ความจริง, สิ่งที่มีอยู่จริง) ในภาษาอังกฤษด้วย หากเรายอมรับว่า ภาษา
                  บาลีสันสกฤตกับภาษายุโรป เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศษ และภาษาอังกฤษ เป็นตระกูล

                  อินโดยุโรเปียนด้วยกัน

                       ความหมายตามรากศัพท์ที่ว่า ทรงไว้ ดูจะเป็นความหมายที่ทรงเสน่ห์ เพราะทำให้

                  นักอักษรศาสตร์ผู้ชำนาญการแต่งคัมภีร์บาลีนำไปศึกษาและอธิบายความหมายกันโดยต่อเนื่อง
                  เช่น ในคัมภีร์โมคคัลลายนวุตติ รูปสิทธิ และสัททนีติ มีการอธิบายความหมายไว้คล้ายๆ กันว่า

                  ทรงไว้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายไม่ให้ตกไปในอบายและในทุกข์ในวัฏฏะ  ธรรม ในความหมายนี้จึงหมายถึง
                                                                          10
                  โลกุตตรธรรม อันได้แก่มรรคผลนิพพาน ซึ่งแสดงว่า ผู้ที่ได้บรรลุมรรคผลตั้งแต่ขั้นแรกไปย่อม
                  ปลอดภัยไม่ตกอบายภูมิแน่นอน อบายภูมิ คือ ภูมิหรือภพที่ไร้ความเจริญต้องพบกับความทุกข์

                  ต่างๆ ตามสมควรแก่กรรม ได้แก่ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   2) สิ่งที่ต้องเรียนรู้ (ปริยตฺติ) 3) ความรอบรู้ (ปญฺญา) 4) ความถูกต้อง/ความเหมาะสม

                       ยังมีความหมายของ ธรรม อีกถึง 14 ความหมาย ได้แก่ 1) ภาวะที่แท้จริง (สภาว)


                  (ญาย / ยุตฺติ) 5) ความจริง/สิ่งที่มีอยู่จริง (สจฺจ) 6) ปกติ/ธรรมดา (ปกติ / ธมฺมตา) 7) ความดี



                        ดูเพิ่มเติมที่ บรรจบ  บรรณรุจิ, ปัญญาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : ชื่อเรียกและพัฒนาการ, หน้า 11 - 12.
                     10
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178