Page 175 - kpi15476
P. 175
1 4 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
แต่คัมภีร์ชั้นอรรถกถาอธิบายว่า ท่านคือพระโพธิสัตว์ ซึ่งเวียนว่ายตายเกิดบำเพ็ญบารมีจนกระทั่ง
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน
ต่อมาขัตติยะได้ถูกใช้เป็นชื่อวรรณะ เรียกว่า ขัตติยวัณณะ (ขตฺติยวณฺณ) หรือ วรรณะ
กษัตริย์ (กฺษตฺริยวรฺณ) เพื่อรองรับคนอารยันผิวขาวที่สนใจงานป้องกันเผ่าชน (กุละ หรือ tribe)
ในตอนแรกๆ แต่ยังหมายถึงกลุ่มคนหรือชนชั้น (class) ในเวลาต่อมา ดังนั้นในวรรณคดีบาลี
เช่นในพระไตรปิฎกจะพบว่า หากใช้ขัตติยะกับราชาไว้คู่กัน เป็น ขตฺติโย ราชา มีความหมายว่า
ราชามาจากวรรณะกษัตริย์หรือคนวรรณะกษัตริย์ที่ได้เป็นราชา ซึ่งเป็นด้วยมุรธาภิเษกหรือปราบ
ดาภิเษกก็ได้
การที่ผู้เขียนกล่าวถึงความหมายของ ธรรม กับ ราชา มายืดยาวก็เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้
ข้างต้นว่า ธรรมราชา ควรจะแปลว่า ราชาโดยธรรม หรือ ราชาแห่งธรรม
ความหมายที่ว่า ราชาโดยธรรม หาเหตุผลสนับสนุนได้ไม่ยาก เพราะมีอธิบายไว้ใน
อรรถกถา และสรุปได้ว่า ธรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนได้เป็นราชา เหตุผลสนับสนุนดูได้จาก
16
เรื่องในอัคคัญญสูตรที่บุรุษบุคลิกดีได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำซึ่งในที่สุดก็ได้รับการขนานนามมาตาม
ลำดับว่า มหาสมมต ขัตติยะ และราชา นามทั้ง 3 นี้มีความหมายสอดคล้องกัน แต่คำว่า
มหาสมมต (ผู้ที่มหาชนยอมรับ) กับ ราชา (ผู้ทำให้คนอื่นพอใจ) ดูจะเป็นคำที่บอกถึงการเป็นที่
ยอมรับและเป็นที่รักของคนจำนวนมากได้ การเป็นที่ยอมรับอาจมาจากบุคลิกในเบื้องต้นแต่แล้วใน
ที่สุดธรรมหรือจริยธรรมก็จะเป็นตัวชี้ขาดว่าสมควรจะได้รับการยอมรับต่อไปหรือไม่ ยิ่งการเป็น
ที่รักย่อมต้องมาจากธรรมแน่นอน และธรรมนั้นก็คือความฉลาดและความซื่อตรงทำหน้าที่ตัดสิน
คดีความอย่างยุติธรรม
ยิ่งย้อนกลับไปดูพระจริยาวัตรของพระราชาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์พระราชาสามัญใน
จักกวัตติสูตรและเมฆเทวสูตรก็ยิ่งทำให้เห็นว่า ธรรมมีความสำคัญต่อการทำให้เป็นธรรมราชา
มากยิ่งขึ้น ธรรมนั้นคือ การทำประโยชน์ส่วนพระองค์ด้วยการรักษาศีล และการอุทิศพระองค์
ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคมอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดการคุ้มครองแบบชอบธรรมให้
การอนุเคราะห์ความเป็นอยู่ด้วยการพระราชทานทรัพย์แก่คนยากจน และการอบรมประชาชนให้
ปฏิบัติตามมนุษยธรรมโดยให้เคารพสิทธิในชีวิตของกันและกัน สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในคู่ครอง
หลีกเลี่ยงการกล่าวเท็จรวมทั้งหลีกเลี่ยงการกล่าวเสียดสียุยงให้เกิดความแตกแยก การกล่าวคำ
หยาบคายด่าทอ การกล่าวแบบไร้หลักฐาน อีกทั้งให้หลีกเลี่ยงการดื่มของมึนเมาซึ่งเป็นฐานสำคัญ
ให้ขาดสติเกิดความประมาท
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ธรรมราชาด้วย พระพุทธเจ้าเองก็เคยตรัสอธิบายเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของพระธรรมราชาที่
ความสำคัญของธรรมที่กล่าวมานี้สอดคล้องกับความหมายของธรรมเชิงพฤติกรรมที่ผู้เขียน
สรุปไว้ว่า ได้แก่ หน้าที่ ความดี ความถูกต้องความเหมาะสม โดยนัยนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็น
16
ธมฺเมน ราชา ชาโตติ ธมฺมราชา - ที่ชื่อว่า ธรรมราชา เพราะมีความหมายว่า เป็นราชาโดยธรรม (ม.อ. 2 /
308 / 224).