Page 196 - kpi15476
P. 196
ธรรมราชาในการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยของไทย
และราชาปราชญ์ของเพลโต
: ความเหมือนและความแตกต่าง
นายกฤษฎา แก้วเกลี้ยง*
บทคัดย่อ
แนวคิดเรื่องธรรมราชา และราชาปราชญ์ เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในบริบท
ของสังคมที่แตกต่างกัน นั่นคือ สังคมตะวันตก และสังคมตะวันออก โดย
แนวคิดทั้งสองมุ่งอธิบายเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่นักปกครองพึงมีอยู่
สำหรับในส่วนของแนวความคิดเรื่องธรรมราชานั้น เป็นแนวความคิดที่มีการผสม
ผสานเอาวัฒนธรรมแบบพราหมณ์และแบบพุทธเข้าด้วยกัน มีหลักธรรมสำคัญ
ที่กำหนดให้นักปกครองปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมราชาคือ จักรวรรดิวัตร
และทศพิธราชธรรม ส่วนแนวคิดเรื่องราชาปราชญ์ เป็นแนวคิดที่ถูกคิดขึ้นโดย
นักปรัชญาที่ชื่อว่าเพลโต เขามองว่า นักปกครองที่ดีต้องมีคุณลักษณะของการ
เป็นนักปรัชญา เพื่อที่จะสามารถสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับรัฐได้ ทั้งนี้
เมื่อนำแนวคิดทั้งสองมาเปรียบเทียบกันก็ทำให้เห็นถึงความเหมือนกันและ
ความแตกต่างกันที่มีอยู่ สำหรับความเหมือนกันได้แก่ การทำเพื่อประโยชน์สุข
ส่วนรวม การที่นักปกครองและประชาชนต้องอยู่เคียงข้างกัน การที่นักปกครอง
ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ นักปกครองมีความรู้ความสามารถ และ
นักปกครองมีคุณงามความดี ส่วนความแตกต่างกันก็ได้แก่ ต้นกำเนิดของ
แนวคิด ลักษณะการอธิบายตัวนักปกครอง ข้อกำหนดสำหรับการปฏิบัติของ
นักปกครอง และการอ้างอิงตัวบุคคล อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ก็ได้มีการประยุกต์ใช้
แนวคิดทั้งสองเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของพระมหากษัตริย์ไทยในระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตยด้วย ซึ่งพบว่า พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตยทรงมีทั้งคุณลักษณะของธรรมราชาและราชา
ปราชญ์ แม้พระองค์จะทรงดำรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ก็ทรง
สามารถปรับการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ได้ ประกอบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญก็มีการคำนึงถึงบริบทดั้งเดิมของสังคมไทย
ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง จึงมีการเปิดช่องให้พระมหากษัตริย์
* นักศึกษาปริญญาโท สาขาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์