Page 200 - kpi15476
P. 200

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   199


                      พระมหาจักรพรรดิที่มีธรรมะศาสตราในการปกครอง สำหรับตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพระราช
                      สถานะที่ผสมผสานระหว่างคติใน 2 ศาสนาก็เช่น พระนามของพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละ

                      พระองค์ในราชวงศ์ต่างๆ ที่มักมีคำที่แสดงให้เห็นถึงคติแบบพราหมณ์และคติแบบพุทธ เช่น
                      สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนารายณ์
                      มหาราช สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฯลฯ จากพระนามของพระมหา

                      กษัตริย์ไทยที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า พระนามของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ที่กล่าวมา
                      พระนามของบางพระองค์ก็แสดงคติแบบพราหมณ์ พระนามของบางพระองค์ก็แสดงคติแบบพุทธ

                      นั่นแสดงว่า สังคมไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามีการผสมผสานคติความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา
                      พราหมณ์และศาสนาพุทธอย่างชัดเจน หรือในกรณีของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็มีการจัดทั้ง
                      พิธีของฝ่ายศาสนาพราหมณ์และฝ่ายศาสนาพุทธ โดยในฝ่ายศาสนาพราหมณ์นั้น พราหมณ์

                      จะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ อันหมายถึง เครื่องหมายแสดงความเป็น
                      พระมหากษัตริย์ และประกอบพิธีแบบพราหมณ์ ส่วนฝ่ายศาสนาพุทธ มีการเจริญพระพุทธมนต์

                      ของพระสงฆ์

                            จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า คติของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธได้ผสมผสานอยู่ใน

                      สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยอย่างแนบแน่น เราจึงสมควรมอง “ธรรมราชา” ตามแบบของไทย
                      ในฐานะผลผลิตของทั้งสองศาสนา เพราะแม้ศาสนาพราหมณ์จะถือว่า พระมหากษัตริย์คือ

                      พระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิด แต่ศาสนาพราหมณ์ก็มิได้ปฏิเสธการมีอยู่ของหลักธรรมที่ว่าด้วย
                      ข้อปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้กล่าวได้ว่า ศาสนาพราหมณ์ก็มีการเน้น
                      “การเอาชนะใจ” ผู้ใต้ปกครองเพื่อสร้างบารมีเหมือนศาสนาพุทธเช่นกัน มิได้ถือว่าพระมหากษัตริย์

                      คือผู้ที่มีอำนาจเด็ดขาดแบบที่อิงกับอำนาจเหนือธรรมชาติเพียงอย่างเดียว โดยมีนักวิชาการ
                      สันนิษฐานว่า คติธรรมราชาหรือธรรมิกราชในสังคมไทยนี้เกิดขึ้นเมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมมอญ

                      แห่งคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เข้ามาเจือปน ซึ่งธรรมิกราชในที่นี้หมายถึง พระราชาผู้เคร่งครัดใน
                      ธรรมดุจดังพระมหาสมมุติราชแห่งคัมภีร์พระธรรมศาสตร์นั้น (ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา,
                      2539, น.77) อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการที่คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จะได้บอกกล่าวถึงหลัก

                      การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้แล้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ของไทยยังได้มี
                      การออกกฎมณเฑียรบาล เพื่อป้องกันมิให้พระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจในทางที่ผิดไว้เป็น

                      พระราชศาสตร์ ดังความว่า

                               “...พระเจ้าอยู่หัวดำรัสด้วยกิจการคดีถ้อยความประการใดๆ ต้องกฎหมายประเพณี

                         เป็นการยุติธรรมแล้วให้กระทำตาม ถ้ามิชอบจงอาจเพ็ดทูลทัดทานครั้งหนึ่ง สองครั้ง
                         สามครั้ง ถ้ามิฟังให้รอไว้อย่าเพิ่งสั่งไป ให้ทูลที่รโหฐาน ถ้ามิฟังจึงให้กระทำตาม ถ้าผู้ใดมิได้

                         กระทำตามพระอัยการดั่งนี้ ท่านว่าผู้นั้นละเมิดพระราชอาญา” และ “อนึ่ง ทรงพระโกรธ
                         แก่ผู้ใดและตรัสเรียกพระแสง อย่าให้เจ้าพนักงานยื่น ถ้ายื่นโทษถึงตาย” (ประมวล
                         รุจนเสรี, 2548, น.19-20)


                            จากกฎมณเฑียรบาลข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการที่พระมหากษัตริย์ของไทยในสมัย                        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      กรุงศรีอยุธยามีการสร้างกลไกขึ้นมาปกป้องการกระทำของพระองค์เองด้วย แม้พระองค์จะทรง
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205