Page 201 - kpi15476
P. 201

200     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ดำรงอยู่ในพระราชสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะ แต่พระองค์ก็มิได้ถือพระองค์ว่าเป็นผู้ที่มีความ
                  สมบูรณ์พร้อมทางการกระทำเสียทั้งหมด ซึ่งกฎมณเฑียรบาลดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีว่า

                  พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้ใน
                  หลักเหตุผล มิใช่พระราชสถานะที่อิงอยู่กับพระราชประเพณีเพียงอย่างเดียว แม้ว่าในสมัย
                  กรุงศรีอยุธยาจะมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์มีพระราช

                  อำนาจสูงสุดก็ตาม เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของไทยในสมัยนั้น ทรงให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์
                  ที่ใช้สำหรับสร้างความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ควบคู่ไปกับการที่พระมหากษัตริย์จะพยายาม

                  ปฏิบัติพระองค์ตามหลักธรรมทางศาสนาของทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายพราหมณ์ เพื่อเข้าถึงความเป็น
                  “ธรรมราชา” ที่สมบูรณ์ หากคราวใดที่พระองค์ทรงถูกโมหะจริต เข้าครอบงำ ข้าราชบริพาร
                  ก็สามารถที่จะกระทำการเพื่อยับยั้งไม่ให้พระองค์ทรงกระทำสิ่งที่ไม่สมควรได้ นับเป็นการเปิด

                  โอกาสให้ประชาชนที่มีอำนาจน้อยกว่าพระองค์ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นธรรมราชา
                  ให้กับพระองค์ด้วย ซึ่งการนำกฎมณเฑียรบาลดังกล่าวมาวิเคราะห์ อาจช่วยเผยให้เห็นถึงความ

                  เป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยามากขึ้น เพราะเท่าที่ผ่านมา ตำราหลาย
                  เล่มมักมีการเขียนถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในลักษณะของการ
                  เป็นเทวราชาอย่างชัดเจน แต่ความจริงแล้ว ความเป็นเทวราชาของพระมหากษัตริย์ในสมัย

                  กรุงศรีอยุธยาก็ยังดำเนินควบคู่ไปกับกฎเกณฑ์ที่ช่วยให้พระมหากษัตริย์มีความเป็นธรรมราชาด้วย
                  และเมื่อมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 แม้

                  กฎเกณฑ์ต่างๆในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะถูกเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์
                  ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็ยังคงยึดถือ
                  คติการปฏิบัติพระองค์ตามแบบกรุงศรีอยุธยาอยู่ นั่นคือ ทรงเป็นทั้งเทวราชา และธรรมราชาไป

                  พร้อมๆกัน ดังจะเห็นได้จากการที่ยังมีการตั้งพระแท่นราชบัลลังค์และพระเมรุมาศในลักษณะของ
                  เขาพระสุเมรุอยู่ แต่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในทางพระพุทธ

                  ศาสนาอย่างมาก ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน เช่น การที่พระมหากษัตริย์ทรงเปิดโอกาสให้
                  ราษฎรถวายฎีการ้องทุกข์แด่พระองค์ได้ หรือการเสด็จประพาสต้นเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรของ
                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น



                  ราชาปราชญ์ และความมีเหตุผลในการปกครองรัฐ



                       ในส่วนแนวความคิดเกี่ยวกับราชาปราชญ์ (Philosopher King) ของเพลโต นั้น เพลโต

                  ได้เขียนไว้ในงานเขียนของเขาที่ชื่อ อุตมรัฐ (The Republic) ซึ่งงานเขียนดังกล่าวได้มีการกล่าว
                  ถึงรูปแบบการปกครองของรัฐที่เพลโตต้องการจะให้เป็น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   กลุ่มที่มีอำนาจน้อยกว่านักปกครอง ซึ่งพิทักษ์ชนในความหมายของเพลโต พอเทียบได้กับนักรบ
                  ประชาชนอย่างแท้จริง สำหรับเพลโตแล้ว รัฐประกอบไปด้วยบุคคล 3 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ
                  นักปกครอง พิทักษ์ชน (Guardian) และราษฎร โดยในส่วนของพิทักษ์ชนละราษฎรนั้นเป็นบุคคล



                  แต่หน้าที่ของพิทักษ์ชนมีมากกว่าการรบป้องกันรัฐ หน้าที่อื่นๆของพิทักษ์ชนได้แก่ การกวดขัน
                  ราษฎรให้เคารพเชื่อฟังกฎหมายที่มาจากนักปกครอง และช่วยนักปกครองบริหารกิจการของรัฐ
                  เทียบได้กับทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ส่วนราษฎรก็คือ ประชาชนธรรมดาผู้ถูก
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206