Page 199 - kpi15476
P. 199
19 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ธรรมราชา และสมมุติเทพ :
การผสมผสานที่ลงตัวของพราหมณ์และพุทธ
คำว่า ธรรมราชา แปลตามความหมายทั่วไปได้ว่าคือ พระราชาผู้ทรงธรรม อย่างไรก็ตาม
ความคิดเรื่องธรรมในศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ก็แตกต่างกัน แต่ชาวไทยก็ได้รับวัฒนธรรม
ทางศาสนาทั้งจากฝ่ายพุทธและฝ่ายพราหมณ์ โดยเฉพาะเรื่องการปกครองนั้นแยกพุทธแยก
พราหมณ์แทบจะไม่ได้ เพราะอ้างถึงหลักการเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2542,
น.1) ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์นั้นมีจุดกำเนิดอยู่ในดินแดนเดียวกัน
นั่นคือ ประเทศอินเดีย ทำให้คำสอนของศาสนาทั้งสองมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งในส่วนของฝ่าย
ศาสนาพราหมณ์นั้น คำสอนสำคัญที่ทำให้พระมหากษัตริย์มีความเป็นธรรมราชา นั่นก็คือ
จักรวรรดิวัตร ส่วนฝ่ายศาสนาพุทธ คำสอนสำคัญสำหรับพระมหากษัตริย์ผู้เป็นธรรมราชาก็คือ
ทศพิธราชธรรม อีกทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธยังมีการกล่าวถึงเรื่องราวของธรรม
ราชาไว้ในคัมภีร์ที่เกี่ยวกับศาสนาอยู่หลายตอน สำหรับในกรณีของศาสนาพราหมณ์นั้น ก็มีการ
กล่าวไว้ในคัมภีร์ภควคีตา ในตอนที่พระกฤษณะสอนท้าวอรชุนเกี่ยวกับการทำสงคราม รวมถึง
คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ อรรถศาสตร์ และราชนิติ ก็ได้มีการกล่าวถึงอุบายในการปกครองโดย
ธรรมไว้ด้วย ส่วนศาสนาพุทธก็ได้มีการกล่าวถึงธรรมราชาไว้หลายตอน ส่วนมากเรื่องราวดังกล่าว
มักจะอยู่ในชาดกที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระชาติต่างๆของพระพุทธเจ้า เช่น ในมหาปทานสูตร
พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าในอดีตว่าเป็นผู้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ
ลักษณะดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ถ้าออกบวชก็จะได้เป็น
พระพุทธเจ้า (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2542, น.11)
เมื่อสังเกตถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ในคติความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์และ
ศาสนาพุทธแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่า มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ นั่นคือ ศาสนาพราหมณ์จะถือว่า
พระมหากษัตริย์เป็นพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิด เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้กับอาณา
ประชาราษฎร์ ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงอยู่ในฐานะสมมุติเทพ ส่วนในศาสนาพุทธถือว่า
พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิด ดังจะเห็นได้จากคติเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิที่ในคติของ
ศาสนาพุทธถือเป็นหนึ่งในถูปารหบุคคล นั้นคือ บุคคลที่ควรสร้างสถูปไว้บูชา ซึ่งจากคติดังกล่าว
ชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าจักรพรรดิตามคติของศาสนาพุทธเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่อง
ในฐานะของการบำเพ็ญคุณงามความดี มิใช่ในฐานะของสมมุติเทพอย่างในศาสนาพราหมณ์
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระมหากษัตริย์ที่สร้างพระบารมีขึ้นจากการใช้ธรรมะในการปกครอง
มิใช่พระบารมีที่เกิดมาจากอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า พระมหากษัตริย์ตามคติ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ที่ประชาชนทั้งปวงยอมรับ (ประมวล รุจนเสรี, 2548, น.18-19) และเมื่อย้อนมาดูถึงพระราช
แบบพุทธนั้นทรงมี “ธรรมะศาสตรา” เป็นอาวุธ คือ การใช้ธรรมะเป็นเครื่องกำกับการใช้อำนาจ
ในการปกครอง ดั่งบิดาปกครองบุตร และอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ คือ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
สถานะของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยพระศรีอยุธยาลงมาจนถึงปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ว่า
พระมหากษัตริย์ของไทยทรงดำรงอยู่ทั้งในคติความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์และคติความเชื่อแบบ
ศาสนาพุทธ นั่นคือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นทั้งสมมุติเทพที่อวตารมาจากพระผู้เป็นเจ้า และเป็น