Page 204 - kpi15476
P. 204

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   203


                      philosophic life) นักปรัชญาจึงควรได้รับการถือให้เป็นแบบอย่างสำหรับรัฐบุรุษ นักปกครอง
                      และนักนิติบัญญัติในการสร้างรัฐในอุดมคติหรืออุตมรัฐนั่นเอง (ชุมพร สังขปรีชา, 2529, น.25)


                      ความแตกต่างและความเหมือนของ 2 แนวคิดที่ว่าด้วย

                      คุณลักษณะนักปกครอง




                            หลังจากที่ได้ชี้ให้เห็นถึงรายละเอียดของแนวคิดเกี่ยวกับธรรมราชาและราชาปราชญ์ไปใน
                      เบื้องต้นแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าแนวคิดทั้งสองก็ต่างมีรายละเอียดที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และด้วย

                      สาเหตุที่แนวคิดทั้งสองเกิดขึ้นในคนละบริบทของสังคม จึงปฏิเสธไม่ได้ที่จะมีความแตกต่างกัน
                      อย่างไรก็ตาม ในบางแง่มุม แนวคิดทั้งสองก็ยังมีส่วนที่เหมือนกันอยู่ด้วย ดังนั้น ในที่นี้จึงทำการ
                      แจกแจงให้เห็นทั้งความแตกต่างและความเหมือนที่มีอยู่ในแนวคิดทั้งสอง สำหรับความแตกต่างมี

                      อยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ

                            ประการแรก แนวคิดธรรมราชาเป็นแนวคิดที่มีต้นกำเนิดมาจากศาสนา ส่วนแนวคิด

                      ราชาปราชญ์มีต้นกำเนิดมาจากนักคิดทางโลก กล่าวคือ แนวคิดธรรมราชานั้นมีต้นกำเนิดมาจาก
                      ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ที่ต่างก็มีการบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมราชาไว้ในคัมภีร์ทาง

                      ศาสนา ตลอดจนคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแนวคิดราชาปราชญ์เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากนักปรัชญา
                      ทางโลกที่ต้องการจะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับรัฐของตนเอง แม้ว่าแนวคิดธรรมราชก็เป็น
                      แนวคิดที่มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับแนวคิดราชาปราชญ์ แต่จะเห็นได้ว่า แนวคิดธรรมราชานั้น

                      จะอิงอยู่กับเรื่องทางศาสนาค่อนข้างมาก เช่น สิ่งที่พระกฤษณะตรัสไว้ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์ภควคี
                      ตา หรือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตที่พระองค์ระลึกได้ ส่วนแนวคิดราชา

                      ปราชญ์ของเพลโตนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องความคิดของบุคคลล้วนๆ มิได้นำเรื่องศาสนาเข้ามา
                      อ้างอิงด้วยอย่างชัดเจนเหมือนแนวคิดธรรมราชา การให้เหตุผลต่างๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของ
                      นักปกครองก็จะเป็นไปในลักษณะของการใช้หลักเหตุผลและตรรกะในการอธิบาย มิได้มีการยก

                      เรื่องราวทางศาสนามาอ้างอิง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ


                            ประการที่สอง แนวคิดธรรมราชามีการอธิบายโดยยกเรื่องราวที่เป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ
                      เข้ามาด้วย ส่วนแนวคิดราชาปราชญ์เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลของการกระทำในปัจจุบันล้วนๆ

                      ซึ่งกรณีดังกล่าว จะเห็นได้จากการที่บางครั้ง บุคคลผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นธรรมราชานั้น
                      มักถูกนำไปยึดโยงกับสิ่งที่ไม่สามารถใช้เหตุผลทางโลกอธิบายได้ เช่น การที่มีผู้ทำนายว่าต่อไป
                      บุคคลนั้นบุคคลนี้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โดยพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็คือธรรมราชาในคติทาง

                      ศาสนาพุทธนั่นเอง และพระเจ้าจักรพรรดินี้เองก็จะเป็นผู้ที่มีของวิเศษประจำตัว 7 ประการ ได้แก่
                      ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว จักรแก้ว มณีแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว สำหรับของวิเศษเหล่านี้

                      ล้วนเป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งสิ้น เมื่อหันมามองตามความเป็น
                      จริงของทางโลก จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิที่กล่าวมา ล้วนเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใคร
                      พบเห็นได้เลย การอธิบายจึงเป็นไปในลักษณะของความเชื่อมากกว่าจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้จริง              เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      ในขณะที่ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นราชาปราชญ์นั้น บุคคลทั่วไปจะสังเกตได้ง่ายกว่า เพราะเป็นแค่การ
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209