Page 202 - kpi15476
P. 202

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   201


                      ปกครอง ซึ่งประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้แก่รัฐ สำหรับในส่วนของผู้ปกครอง
                      นั้น เพลโตเน้นว่าจะต้องมีลักษณะเป็นนักปรัชญา นักปกครองมีหน้าที่ออกกฎหมายและกำหนด

                      นโยบายของรัฐ (พระธรรมโกศาจารย์, 2552, น.208) ในแง่นี้ เมื่อพิจารณาตามหลักความคิด
                      โดยทั่วไปแล้ว ก็นับได้ว่า เพลโตเป็นบุคคลอีกผู้หนึ่งที่มีความคิดเฉียบแหลม เพราะเขาได้เน้นการ
                      เลือกสรรคุณลักษณะของนักปกครอง ที่ถือเป็นผู้ส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของรัฐ หาก

                      นักปกครองไม่ดี ก็ย่อมที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐได้ ดังงาน
                      เขียนของเพลโตตอนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการที่เขาให้ความสำคัญกับการใช้ปรัชญาปกครองรัฐว่า

                      “ลักษณะที่รัฐซึ่งมีปรัชญาเป็นเครื่องปกครองจะพ้นความหายนะได้ เพราะเรื่องสำคัญยิ่งทั้งปวง
                      เป็นเรื่องที่ต้องเสี่ยงจริง ดังที่มีคำพังเพยกล่าวไว้ว่า สิ่งที่ดีย่อมยาก..” (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2523,
                      น.252)


                            หลังจากเราทราบแล้ว เพลโตได้ให้ความสำคัญกับการใช้ปรัชญาในการปกครองรัฐมาก

                      ถึงขนาดที่เขากำหนดคุณสมบัติของนักปกครองว่าจะต้องเป็นนักปรัชญา ขั้นต่อมาเราคงจำเป็น
                      ต้องตีความคำว่า “ปรัชญา” ที่เพลโตกล่าวถึงว่าหมายถึงอะไรกันแน่ เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นภาพ
                      คุณลักษณะที่แท้จริงของนักปกครองตามอุดมคติของเพลโต สำหรับคำว่าปรัชญาในความหมาย

                      ของเพลโตนั้น น่าจะหมายถึงความมีเหตุผล  เนื่องจากตามความคิดของเพลโต รัฐมีรากฐานมา
                      จากเหตุผล กฎหมายของรัฐจึงต้องเป็นสิ่งที่มีเหตุผล และกฎหมายที่มีเหตุผลก็จะต้องสร้างขึ้น

                      โดยคนที่มีเหตุผลเท่านั้น นั่นก็คือ นักปรัชญา (ดับบลิว. ที. สเตซ, 2514, น.127) โดยนอกจาก
                      เพลโตจะได้เน้นให้ผู้ปกครองมีความเป็นนักปรัชญา ในการการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วไป
                      เพลโตยังได้ให้ความสำคัญกับการสร้างบุคคลที่มีเหตุผลมาก จนถึงขนาดที่เขาได้มีการออกแบบ

                      วงจรชีวิตของคนที่ควรจะเป็น ซึ่งมีการครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาเป็นหลักสำคัญของวงจรชีวิต
                      ดังข้อเขียนของเขาตอนหนึ่งที่ว่า


                               “...เมื่อยังหนุ่มๆ อยู่ก็ต้องศึกษาอบรมตามที่เหมาะแก่คนหนุ่ม เมื่อโตแล้วก็ต้อง
                         รักษาร่างกายให้แข็งแรง เหล่านี้ก็เพื่อเป็นรากฐานสำหรับการใช้สติปัญญาต่อไป เมื่ออายุ

                         มากขึ้น วิญญาณแก่กล้าเต็มทีแล้วก็ต้องใช้มันให้หนักยิ่งขึ้น และเมื่อกำลังวังชาถดถอยลง
                         ได้ใช้ชีวิตในทางการเมืองและการทหารมาแล้ว ก็ควรได้รับการเลี้ยงดู ไม่ต้องทำงานอื่น

                         นอกจากคิดปรัชญาอย่างเดียวจึงจะมีความสุข และเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง ก็จะได้รับการ
                         สวมมงกุฎให้ชีวิตที่ได้ดำเนินมาแล้ว คือมีจุดหมายปลายทางอันเหมาะสมในปรโลก” (ปรีชา
                         ช้างขวัญยืน, 2523, น.252)


                            จากข้อเขียนของเพลโตข้างต้น ถือเป็นสิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นถึงการที่เพลโตให้ความสำคัญกับ

                      ปรัชญา หรือเหตุผลมาก ไม่ว่าจะเป็นในระดับนักปกครองหรือประชาชนทั่วไป โดยในส่วนของ
                      นักปกครองนั้น เพลโตได้เน้นว่า สิ่งที่นักปกครองต้องมีคือ ปัญญา ซึ่งหากนำคำว่า ปรัชญา และ
                      คำว่า ปัญญา ที่เพลโตได้กล่าวไว้มามองร่วมกัน ก็จะกล่าวได้ว่า คุณสมบัติของความเป็น

                      นักปกครองที่เพลโตต้องการนั้นเป็นสิ่งที่มีความลึกซึ้งไม่น้อยไปกว่าแนวความคิดแบบธรรมราชา
                      ของโลกตะวันออก เนื่องจากปรัชญา (เหตุผล) และปัญญานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นคุณสมบัติที่                   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      มนุษยชาติทั้งหลายต่างต้องการแสวงหาอยู่แล้ว และอาจเป็นเพราะเหตุนี้ เพลโตจึงได้มีการ
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207