Page 203 - kpi15476
P. 203
202 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ออกแบบวงจรชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นของบุคคลขึ้นมา ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เพื่อที่จะสร้าง
นักปรัชญาที่มีความรู้ความสามารถขึ้นมาเป็นนักปกครอง อย่างไรก็ตาม เพลโตก็มิได้มอง
นักปกครองผู้มีคุณลักษณะของนักปรัชญาว่าเป็นผู้ที่สามารถเนรมิตให้รัฐมีความสมบูรณ์พูนสุขได้
เสียทั้งหมด เพราะความจริงแล้ว การที่รัฐจะเกิดความสมบูรณ์พูนสุขได้ จำเป็นต้องประกอบไป
ด้วยความร่วมมือของอีก 2 ส่วนด้วย นั่นคือ กลุ่มพิทักษ์ชนและกลุ่มราษฎร ซึ่งเพลโตเชื่อว่า
หากชนชั้นทั้งสามระดับปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างประสานกลมกลืนกัน ไม่มีการขัดแย้งหรือ
ก้าวก่ายหน้าที่กัน นั่นคือ กษัตริย์นักปรัชญาปกครองประชาชนด้วยความรักและความอดทน
พิทักษ์ชนไม่ปฏิวัติแย่งชิงอำนาจจากนักปกครอง และราษฎรก็ทำตัวเป็นพลเมืองดีที่เคารพ
กฎหมาย สิ่งที่เรียกว่า ความยุติธรรมก็จะเกิดขึ้นในรัฐ(พระธรรมโกศาจารย์, 2552, น.208-
209) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่า เพลโตได้มองเห็นองค์รวมของการปกครองรัฐที่ทุกส่วนจะต้อง
มีการทำงานที่สอดประสานกัน มิได้เน้นที่หน่วยใดหน่วยหนึ่ง เพียงแต่การที่เพลโตเน้นให้
นักปกครองมีความเป็นนักปรัชญานั้น อาจเกิดจากการที่เขาต้องการให้นักปรัชญาเป็นผู้วาง
พื้นฐานของสิ่งที่ดีงามให้กับรัฐก่อน เช่น การออกกฎหมาย และการกำหนดนโยบายของรัฐ
เพราะประเด็นทั้งสองเป็นเรื่องของโครงสร้างรัฐที่จำเป็นต้องมีการออกแบบให้ดี ด้วยเหตุที่
โครงสร้างรัฐเป็นสิ่งที่กระทบกับประชาชนภายในรัฐโดยตรง ตัวอย่างก็คือ หากกฎหมายมีความ
เที่ยงธรรม ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ย่อมทำให้รัฐเกิดความสงบสุข หรือการที่นโยบายของ
รัฐถูกออกแบบมาอย่างชาญฉลาด ก็ย่อมอำนวยประโยชน์สุขให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นักปกครองเปรียบเสมือนผู้ที่กำหนดทิศทางของรัฐด้วยการใช้อำนาจในการ
บริหาร แต่ในกระบวนการในการบริหารนั้น ดูเหมือนเพลโตจะยังเชื่อในการมีส่วนร่วมของทุก
ภาคส่วนที่อยู่ในรัฐ สังเกตจากสิ่งที่เรียกว่า ความยุติธรรม ตามความคิดของเพลโตที่เกิดขึ้นจาก
การที่ชนชั้นทั้งสามภายในรัฐทำงานอย่างประสานสอดคล้องกันนั่นเอง และเมื่อเกิดความยุติธรรมแล้ว
ประโยชน์ส่วนรวมก็จะบังเกิดขึ้น
ทั้งนี้ การที่ความยุติธรรมจะเกิดขึ้น บุคคลแต่ละคนก็ย่อมจะต้องมี “ความรู้” เสียก่อน
เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลสามารถสามารถใช้สิ่งที่ตนเองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์
ได้ หากเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เรามีอยู่คืออะไรบ้าง และหากไม่มีความรู้ว่าความยุติธรรมคืออะไร เราก็จะ
ทำตัวให้เป็นคนยุติธรรมไม่ได้ (พินิจ รัตนกุล, 2518, น.37) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่า สิ่งที่
เพลโตเน้นมากนั้นก็คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความรู้แจ้งในสิ่งต่างๆ เพื่อให้สามารถทำสิ่ง
ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความรู้แจ้งนี้ก็อาจเทียบได้กับปัญญาที่เพลโตกำหนดให้มีอยู่ในตัว
ของนักปกครอง แต่ปัญญาในความหมายของเพลโต ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นมาอย่าง
ลอยๆ แต่เกิดจากการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล จนทำให้เกิดปัญญาขึ้น และคนมีปัญญาก็จะเป็น
คนที่มีเหตุผล เพราะทั้งสองสิ่งเป็นของคู่กัน โดยการที่บุคคลเป็นผู้มีปัญญาและมีเหตุผลนั้น
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย เป็นนักปรัชญาที่มีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์ เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์ความดีงามตลอดจน
ก็รวมเรียกได้ว่าเป็นนักปรัชญาอย่างแท้จริง ดังนั้น นักปกครองตามความคิดของเพลโต จึงต้อง
คุณประโยชน์ประการต่างๆ ให้กับรัฐได้ โดยมีกลุ่มพิทักษ์ชนและกลุ่มราษฎรคอยให้ความร่วมมือ
ในการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นรัฐที่กอปรไปด้วยความยุติธรรมให้เกิดขึ้น ความเป็น
ผู้สูงส่งของนักปรัชญานั้นอยู่ที่การมีความรู้เกี่ยวกับชีวิตในเชิงปรัชญา (Knowledge of the