Page 216 - kpi15476
P. 216
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 215
พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ที่ทรงดำรงอยู่ก่อนเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง จะมิได้
ถูกกฎเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมมาจำกัดพระราชสถานะและพระราชอำนาจของพระองค์ให้ลดต่ำลง
ก็ตาม แต่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ยังทรงมีการจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เอง
ด้วยการประพฤติพระองค์อยู่ในกรอบของคำสั่งสอนทางศาสนาทั้งพุทธและพราหมณ์ เช่น
หลักของทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ 4 ราชศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้
ของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ ถือเป็นการสถาปนาพระราชสถานะตามนิติราชประเพณีใน
“ทางธรรม” ขึ้นอีกชุดหนึ่ง ทำให้พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงเป็นที่เคารพยิ่งของประชาชน
เสมอมา เพราะแต่ละพระองค์ทรงเข้าถึงความดีงามในทางศาสนา (หรือจิตวิญญาณ) ควบคู่ไปกับ
การปกครอง“ทางโลก” สำหรับพระราชจริยวัตรเช่นนี้ ถือเป็นการปฏิบัติพระองค์สมดัง
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับพระราชสถานะของ
พระมหากษัตริย์ ความตอนหนึ่งว่า
“การเป็นพระเจ้าแผ่นดินไม่ใช่สำหรับมั่งมี ไม่ใช่สำหรับข่มเหงคนเล่นตามชอบใจ
มิใช่เกลียดไว้แล้วจะได้แก้เผ็ด มิใช่เป็นผู้สำหรับจะกินนอนสบาย...เป็นเจ้าแผ่นดินสำหรับ
แต่เป็นคนจน และเป็นคนที่อดกลั้นต่อสุขต่อทุกข์ อดกลั้นต่อความรักและความชัง อันจะ
เกิดฉิวขึ้นมาในใจ หรือมีผู้ยุยง เป็นผู้ปราศจากความเกียจคร้าน...และเป็นผู้ป้องกันความ
ทุกข์ของราษฎรซึ่งอยู่ในอำนาจปกครอง...” (ประมวล รุจนเสรี, 2548, น.16)
จากพระบรมราโชวาทที่ได้อัญเชิญมานี้ เป็นการแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า หากพิจารณา
ในทาง “ธรรมประเพณี” ของพระมหากษัตริย์ พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ตามนิติ-
ราชประเพณีนั้นก็มิใช่สิ่งอื่นใดเลย นอกเสียจากการเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรให้มีความสงบสุข
โดยใช้หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติมาเป็น “เครื่องมือ”ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่
อาณาประชาราษฎร์ เป็นการใช้ “พระคุณ” อยู่เหนือ “พระเดช” จนสามารถครองใจพสกนิกร
ที่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารได้อย่างทั่วหน้า แม้ว่าพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์จะทรงมี
พระราชสถานะตามระบอบการปกครอง“ทางโลก”ที่แตกต่างกันก็ตาม หรือถ้าจะกล่าวโดยสรุป
ก็คือ พระมหากษัตริย์ของไทยทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะทรงอยู่ในระบอบการปกครองแบบใดก็ตาม
ล้วนแต่เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอยู่ในพระราชสถานะตามนิติราชประเพณีอย่างเดียวกันก็คือ
ทรงเป็น “ธรรมิกราชา” ที่ทรงมี “ธรรมาวุธ” ในการปกครองนั่นเอง
พระราชอำนาจ - สำหรับพระราชอำนาจตามนิติราชประเพณีนี้ กล่าวได้ว่า พระมหา
กษัตริย์ทรงมีอยู่เป็นล้นพ้น เพียงแต่ทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เองด้วยการปฏิบัติ
พระองค์อยู่ในกรอบของหลักธรรมที่ดีงามทางศาสนาเท่านั้น ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น
ในที่นี้ จึงมิสามารถที่จะยกเอาพระราชอำนาจตามนิติราชประเพณีมากล่าวให้ครบถ้วนได้ แต่
อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ก็ได้มีการสรุปพระราชอำนาจสำคัญตามนิติราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์
ทรงใช้ให้เป็นไป“โดยธรรม”เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร มากล่าวไว้ 3 ประการด้วยกัน คือ
ประการแรก พระราชอำนาจในการแก้ไขสภาวะวิกฤติ ซึ่งพระราชอำนาจประการนี้
เป็นพระราชอำนาจที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นให้ผ่านพ้นไป เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย