Page 211 - kpi15476
P. 211
210 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ดังนั้น เราจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะศึกษารูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานนี้ มากกว่าที่จะ
เลือกศึกษาแบบศึกษาแบบใดแบบหนึ่ง เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของพระราชสถานะและ
และพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ
พระราชสถานะ - สำหรับพระราชสถานะตามรัฐธรรมนูญนี้ กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญ
ทุกฉบับนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ได้มีการบัญญัติ
เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้อย่างชัดเจน และบทบัญญัติในส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์
ที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ ก็ได้ถูกคัดลอกเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใน
เนื้อหาสาระสำคัญแต่อย่างใด หรือหากมีการแก้ไขบ้างเล็กน้อย ก็มักจะโน้มไปในทางที่จะถวาย
พระเกียรติยศ หรือเพิ่มพูนพระราชอำนาจให้มากขึ้นกว่าเก่าเสียด้วยซ้ำ (ธงทอง จันทรางศุ,
2529, น. 82 - 83) และสำหรับพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ที่ถูกบัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญนี้มี 6 ประการด้วยกันคือ
ประการแรก พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2
ที่บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร...” และมาตรา 2 บัญญัติว่า “...มีการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ซึ่งพระราชสถานะนี้มิได้เกิดจาก
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยแต่เดิมด้วย ที่
มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำทั้งในยามสงบและยามศึก (สุรพล ไตรเวทย์, 2549, น.333)
นอกจากนี้ยังเป็นไปตามหลักแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราช
สันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงอยู่ในฐานะประมุขของรัฐอย่างถาวรด้วย
(เจษฎา พรไชยา, 2546, น.168) ดังนั้น จึงถือได้ว่า พระราชสถานะนี้ เป็นพระราชสถานะตาม
รัฐธรรมนูญ ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลแล้ว
ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด
มิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ โดยบทบัญญัตินี้ มีขึ้นเพื่อที่จะ
สำแดงพระราชสถานะ อันสูงสุดของพระมหากษัตริย์ตามความเชื่อที่มีมาแต่เดิม สอดคล้องกับ
หลักที่ว่า The king can do no wrong ซึ่งหมายถึงการที่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกระทำการ
อันใดทางการเมืองด้วยพระองค์เอง แต่จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเสมอ ดังนั้น
พระมหากษัตริย์จึงมิต้องมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อาจมี
ผู้ใดทำการฟ้องร้องพระองค์ได้ (ประมวล รุจนเสรี, 2548, น.60) ส่วนวลีที่ว่า ไม่สามารถละเมิด
นั้น สามารถตีความออกได้เป็น 2 นัยคือ ไม่มีผู้ใดสามารถละเมิดพระองค์ได้ในทางกายภาพ เช่น
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย สำหรับพระราชสถานะนี้ เป็นการที่พระมหากษัตริย์จะทรงปฏิบัติพระองค์ตามโบราณ
ประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือแสดงอาการดูหมิ่น และนัยที่สองคือ ไม่มีใครสามารถฟ้องร้อง
พระองค์ได้ ตามที่กล่าวไปแล้ว
ประการที่สาม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก โดย