Page 212 - kpi15476
P. 212
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 211
ราชประเพณีทั้ง 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง พระมหากษัตริย์จะทรงประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือ
พระพุทธศาสนา ตามจารีตประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ดังจะเห็นได้จากการที่พระมหา
กษัตริย์แทบทุกพระองค์ของราชอาณาจักรไทย ล้วนเคยทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนามาแล้ว
ทั้งสิ้น (วุฒิชัย วชิรเมธี, 2549, น.2) ส่วนการปฏิบัติพระองค์ในแบบที่สอง คือ พระมหากษัตริย์
ในอดีต เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จะเป็นผู้ทรงอุปถัมภ์ค้ำจุนศาสนาทุกศาสนาที่อยู่
ในราชอาณาจักร (สุรพล ไตรเวทย์, 2549, น.336) ซึ่งประชาชนทุกคนที่นับถือศาสนาใด ก็ย่อม
ที่จะมีความปลาบปลื้มยินดีที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ศาสนาของตน นอกจากนี้ยังถือเป็นการ
รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการนับถือศาสนา ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอีกด้วย
ประการที่สี่ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทั้งนี้คำว่าพระมหากษัตริย์
มีความหมายว่า นักรบผู้ยิ่งใหญ่ (สุรพล ไตรเวทย์, 2549, น.337) ซึ่งมีที่มาจากคตินิยมของ
อินเดียโบราณ และถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับพระมหากษัตริย์ที่จะพึงมี โดยเฉพาะในอดีต
ที่พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้นำทัพออกต่อสู้กับข้าศึกอยู่เสมอ ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงต้อง
ประกอบไปด้วยพระปรีชาสามารถ เพื่อที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศไว้ให้ได้ ส่วนในปัจจุบัน
แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงออกรบด้วยพระองค์เองอีกต่อไปแล้ว แต่พระราชสถานะนี้ ก็ถือ
เป็นการถวายพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี อันเป็นเรื่องของพิธีการ เนื่องจากในปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจในการบังคับบัญชาทหารด้วยพระองค์เองแต่อย่างใด
(เจษฎา พรไชยา, 2546, น.173)
ประการที่ห้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติยศ ตามความในมาตรา 11 ของ
รัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2550 ที่ระบุไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะ
สถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์” ซึ่งฐานันดรศักดิ์ในที่นี้ ครอบคลุม
ตั้งแต่ฐานันดรศักดิ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ฐานันดรศักดิ์ของพระสงฆ์(สมณศักดิ์) และฐานันดร
ศักดิ์ของขุนนาง (ในปัจจุบัน มักเรียกกันว่าตำแหน่งของข้าราชการระดับสูงในหน่วยงานต่างๆ ซึ่ง
รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจในการทรงแต่งตั้งไว้) ส่วนพระราชอำนาจในการพระราชทาน
หรือเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ก็ทรงกระทำได้ทุกตระกูล แต่ทั้งนี้ การที่พระมหากษัตริย์
จะทรงสถาปนาหรือถอดถอนฐานันดรศักดิ์ ตลอดจนการที่จะพระราชทานหรือเรียกคืนเครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว จะต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการด้วย
(พูนศักดิ์ วรรณพงษ์, 2538, น.43)
ประการที่หก พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม ซึ่งถึงแม้ว่าในบทบัญญัติส่วน
ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญจะไม่ได้มีการบัญญัติพระราชสถานะนี้ไว้โดยตรงก็ตาม
แต่เมื่อพิจารณาในบทบัญญัติส่วนอื่นของรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะพบว่า เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ
รัฐธรรมนูญก็ต้องการที่จะถวายพระราชสถานะนี้เช่นเดียวกัน ดังเช่นในรัฐธรรมนูญ ฉบับ
พุทธศักราช 2550 มาตรา 197 ที่กำหนดไว้ว่า “การพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้อง
ดำเนินการ...ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์” และในมาตรา 191 ก็ได้กำหนดว่า “พระมหา
กษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ” ซึ่งพระราชสถานะในส่วนนี้ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
เป็นการแสดงให้เห็นถึงคติเกี่ยวกับความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่มีมาแต่