Page 217 - kpi15476
P. 217

21      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ด้วยดี และตามโบราณราชประเพณีแล้ว ก็ถือว่าเป็นพระราชภารกิจที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติ
                  ในฐานะผู้ปกครองประเทศ โดยตัวอย่างการใช้พระราชอำนาจส่วนนี้ที่เห็นได้ค่อนข้างเด่นชัดก็คือ

                  พระราชอำนาจในการทรงยับยั้งวิกฤตการณ์บ้านเมืองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
                  ปัจจุบัน ที่ทรงมีการใช้มาโดยตลอด เช่น ในกรณีของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่พระองค์
                  ทรงใช้พระราชอำนาจตามนิติราชประเพณีมาแก้ไขเหตุการณ์ความวุ่นวายในบ้านเมืองให้สงบลง

                  และทรงสถาปนาความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น จนถึงกับมีผู้เรียกรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้น
                  หลังจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ว่าเป็นรัฐธรรมนูญแบบ Royal-People เลยทีเดียว

                  (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2549, น.139) หรือในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พระองค์ก็ได้ทรงเข้ามา
                  เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วง
                  ให้สงบลงได้ ถือเป็นอำนาจแห่ง “พระบารมี” อันเกิดจากการสั่งสมคุณงามความดีของพระองค์

                  ที่ทำให้ทุกภาคส่วนยอมทำตามพระราชดำรัส ซึ่งจากลักษณะการใช้พระราชอำนาจตามนิติราช
                  ประเพณีของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยเช่นนี้ ก็มิได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์

                  จะมิได้ให้ความเคารพกับกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นเพียงการกระทำ
                  หน้าที่โดยสุจริตใจของพระมหากษัตริย์เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติเท่านั้น
                  ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ ม.ร.ว. ทองน้อย ทองใหญ่

                  ได้เล่าไว้ว่า “ทรงมีรับสั่งว่า จำไว้ว่าสถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ก็ต่อเมื่อเกิด
                  สุญญากาศทางการเมืองจริงๆ อย่าง 14 ตุลา แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการทางช่องว่างดังกล่าวหมด

                  ไปแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด”
                  (สุรพล ไตรเวทย์, 2549, น.366)


                       ประการที่สอง พระราชอำนาจในการปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่ราษฎร โดยพระราชอำนาจ
                  ในส่วนนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นพระราชอำนาจที่สำคัญอย่างยิ่งของพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นมาปกครอง

                  ประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม เพราะเมื่อบุคคลขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ปกครองแล้ว ก็ย่อมที่จะ
                  ต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดความผาสุกในชีวิตตามสมควรแก่ฐานะแก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง ซึ่งก็
                  กล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่บำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านนี้ทั้งสิ้น

                  จนปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไป โดยในส่วนของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบ
                  การปกครองแบบประชาธิปไตย พระราชอำนาจตามนิติราชประเพณีแบบโบราณข้อนี้ ก็มิได้เสื่อม

                  ลงแต่อย่างใด เพราะเมื่อกล่าวถึงการช่วยเหลือแล้ว ย่อมไม่มีกฎหมายข้อใดบัญญัติห้ามไว้เป็นแน่
                  โดยสำหรับพระราชอำนาจในการปลดเปลื้องทุกข์แก่ราษฎรนั้น พระมหากษัตริย์อาจสามารถ
                  กระทำได้ทั้งโดยตรง เช่น การพิจารณาฎีการ้องทุกข์หรือฎีกาขอพระราชทานความช่วยเหลือของ

                  ราษฎร  ที่พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้กระทำด้วยพระองค์เอง หรือโดยอ้อม ซึ่งการกระทำเช่นนี้
                  พระมหากษัตริย์จะทรงรับสั่งผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ไปดำเนินการตามพระราช
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ต่างๆ แต่ไม่ว่า พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจส่วนนี้ในลักษณะใดก็ตาม ก็เป็นการ
                  ประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ราษฎร เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการพระราชดำริ


                  แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อราษฎร ซึ่งทรงเห็น

                  ประโยชน์ของราษฎรเป็นใหญ่ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
                  ความตอนหนึ่งว่า “...เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิด มีพระมหากษัตริย์
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222